Page 92 - kpi15428
P. 92
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยการสนับสนุนระหว่างส่วนราชการ ชุมชนและองค์กรเอกชน การเพิ่ม
พื้นที่สีเขียวในเขตชุมชนหรือเมือง
รัฐบาลคณะที่ 54 – 55 ภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี พันตำรวจ
โททักษิณ ชินวัตร มีนโยบายเกี่ยวกับชุมชนเป็นจำนวนมากแต่เป็นนโยบาย
ส่งเสริมเศรษฐกิจและให้สวัสดิการชุมชนมากกว่าการส่งเสริมสิทธิในการ
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรง ส่วนนโยบายด้าน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีมิติเรื่องการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
โดยยึดหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม สนับสนุน
การนำต้นทุนทางสังคมมาใช้ ขณะที่รัฐบาลชุดที่ 56 ภายใต้การนำของ
พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการพูดถึงมากนัก เพราะรัฐบาลมีเพียงแนวนโยบายที่จะ
ผสมผสานการจัดการสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ
สรุปได้ว่า นโยบายเกี่ยวกับสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2540 – 2549 มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 พ.ศ.2540 ที่รับรองสิทธิชุมชนในการ
มีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากร ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่รับรอง
สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และทำให้
สังคมเปิดกว้างต่อสิทธิชุมชนมากขึ้น ซึ่งสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิด
ขึ้นเพราะ 1) สิทธิชุมชนนั้นเป็นหลักปฏิบัติสากลซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความ
สำคัญ 2) เป็นกลไกเชื่อมโยงสิทธิตามธรรมชาติกับสิทธิตามกฎหมาย
3) เป็นรากฐานของความเข้าใจและเข้าถึงสิทธิสาธารณะ 4) เป็นกลไกที่
เข้มแข็งในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพราะไม่มีการผูกขาด
และ 5) ยังช่วยส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (ประภาส ปิ่นตบแต่ง
และคณะ, 2549, น.13-14) อย่างไรก็ตาม แม้ตามรัฐธรรมนูญจะปรากฏ
เนื้อหาที่สะท้อนพัฒนาการที่ดีขึ้นต่อการรับรองชุมชน แต่ในการบริหาร
จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น รัฐยังคงเป็นตัวแสดงหลัก
8