Page 88 - kpi15428
P. 88
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผู้ที่รัฐจัดหามาดำเนินการ ต่อมาฉบับที่ 2 พ.ศ.2516 รัฐได้มีการขยาย
ขอบเขตการให้สัมปทานในทะเลน้ำลึกเพราะจะต้องใช้ต้นทุนมากขึ้นจึงต้อง
ได้สัมปทานในบริเวณกว้างเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า ฉบับที่ 3 พ.ศ.2522
กำหนดให้การต่อเวลาในการสำรวจ ผลิต การปฏิบัติตามข้อผูกพัน การเปิดเผย
รายงานให้มีความรัดกุม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2532 มีข้อกำหนดเปลี่ยนแปลง
ค่าธรรมเนียมและค่าภาคหลวงให้เป็นปัจจุบัน และกำหนดเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงสิทธิของผู้รับสัมปทานให้เป็นการจูงใจสำรวจและพัฒนา
ปิโตรเลียมมากขึ้น ฉบับที่ 5 พ.ศ.2534 ให้ผู้ได้รับสัมปทานได้รับการ
ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ.2535
ไม่มีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นข้อกำหนดเพื่อให้นโยบายด้าน
พลังงานของประเทศเป็นเอกภาพ
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2535
มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่ การกำหนด
โรงงานควบคุมพลังงาน การอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ
สิทธิ เช่น สิทธิในการได้รับการช่วยเหลือด้านเครื่องจักร อุปกรณ์เพื่อ
ลดพลังงานของโรงงานควบคุม การมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือจากกองทุน
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อทำโครงการ วิจัย ศึกษาอบรมที่เกี่ยวกับพลังงานของ
เอกชน และภาครัฐ
นอกจากนี้ ในช่วงนี้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มีส่วนที่กล่าวถึงสิทธิของบุคคลในการรับ
ทราบข้อมูล รับการชดเชย ร้องเรียน ให้ความร่วมมือเกี่ยวกับการส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในส่วนที่เหมือนจะมีการส่งเสริมสิทธิของ
ชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ การให้สิทธิของ
องค์กรเอกชนที่เป็นนิติบุคคลในการจดทะเบียนเป็นองค์กรด้านทรัพยากร
80