Page 87 - kpi15428
P. 87
ชุมชนกับสิทธิ ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 (ยกเลิกพระราชบัญญัติการทำ
เหมืองแร่ พ.ศ.2461 – 2509) มีสาระสำคัญที่เกี่ยวกับสิทธิ โดยห้ามการ
สำรวจแร่และทำเหมืองแม้จะเป็นที่ในกรรมสิทธิ์ของตนเองก็ตาม เพราะจะ
ต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายเสียก่อน กฎหมายฉบับนี้มีบทบัญญัติที่แสดง
ว่าให้ความสำคัญต่อชุมชนอยู่ในหมวด 4/1 การทำเหมืองใต้ดิน ส่วนที่ 3
ที่กำหนดว่าหากผู้ขอประทานบัตรเหมืองใต้ดินเห็นว่าควรมีการปรึกษากับ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อพัฒนาโครงการก็อาจแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการ
ได้ตามขั้นตอน โดยผู้มีส่วนได้เสียในชุมชน อาจได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น กลุ่มผู้มีสิทธิในที่ดินที่จะทำเหมืองนั้น
ต่อมาฉบับที่ 2 พ.ศ.2516 เป็นเรื่องของการกำหนดอายุอาชบัตรผูกขาด
สำรวจแร่ จากนั้นมีการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแร่
พ.ศ.2510 พ.ศ.2526 เพื่อควบคุมการเก็บรักษาแร่อย่างเหมาะสมเนื่องจาก
ปริมาณที่ผลิตได้มีการเกินความต้องการและรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
และในพระราชกำหนดฉบับเดียวกันนี้ได้มีการออกฉบับที่ 2 พ.ศ.2528
เพื่อควบคุมการลักลอบส่งออกแร่ไปนอกราชอาณาจักร พระราชบัญญัติแร่
(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2534 เป็นการควบคุมการขุดเจาะเกลือที่มากเกินไปซึ่งอาจ
จะทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
๏ พลังงาน
พระราชบัญญัติพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ พ.ศ.2504 เป็นกฎหมาย
เพื่อควบคุมการใช้พลังงานปรมาณูให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ต่อมาฉบับที่
2 พ.ศ.2508 ได้มีข้อกำหนดเพิ่มเติมเพื่อควบคุมการใช้รังสีเอ็กซ์และ
ปรับปรุงคณะกรรมการปรมาณูเพื่อสันติ
พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เป็นกฎหมายเพื่อให้มีการ
สำรวจ ผลิต ขนส่งปิโตรเลียมด้วยมาตรการที่เหมาะสม โดยผู้ที่จะดำเนินการ
ดังกล่าวจะเป็นผู้ได้รับสัมปทานจากรัฐไปดำเนินการโดยต้องเป็นบริษัทหรือ
79