Page 292 - kpi15476
P. 292
นวัตกรรมสภาอภิรัฐมนตรี:
การฟื้นฟูมรดกการปกครองของพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ดร. สุรพล ศรีวิทยา*
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิจัยเรื่อง “การปฏิรูป
ประชาธิปไตยไทยภายใต้กรอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับธรรมาธิปไตย”
มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหานวัตกรรมรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ไทย โดยศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน
(Representative Democracy) ซึ่งปัจจุบันแบ่งเป็น 4 ระบบหลักคือ ระบบ
รัฐสภา (Parliamentary System) แบบอังกฤษ ระบบประธานาธิบดี
(Presidential System) แบบสหรัฐอเมริกา ระบบกึ่งประธานาธิบดี (Semi-
Presidential System) แบบฝรั่งเศส และระบบรัฐสภาประยุกต์ (Applied
Parliamentary System) แบบเยอรมนี ประเทศไทยได้ใช้ระบบรัฐสภามาเป็น
เวลานานตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็ยังไม่ประสบ
ความสำเร็จเท่าที่ควร ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรค้นคว้าวิจัยหานวัตกรรมรูปแบบ
การปกครองระบอบประชาธิปไตยใหม่ในระบบที่ห้า ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเหมาะสม
กับบริบทของสังคมไทย เพื่อวางรากฐานการปฏิรูปประชาธิปไตยไทยสู่การ
พัฒนาเปลี่ยนแปลงที่มุ่งสร้างสังคมธรรมาธิปไตย คือ ระบบกึ่งรัฐสภา (Semi-
Parliamentary System) หรือ ระบบรัฐสภาแบบธรรมาธิปไตย
(Dharmacratic Parliamentary System) ซึ่งเป็นการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและองค์อธิปัตย์ธรรมราชา
โดยยึดหลักแบ่งแยกการใช้อำนาจอธิปไตยเป็น 4 ฝ่ายที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล
กัน (Check and Balance) คือ อำนาจรัฏฐาภิบาล อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจ
บริหาร และอำนาจตุลาการ โดยมีการเลือกตั้งหัวหน้าองค์อำนาจ 4 ฝ่ายที่มา
จากประชาชนโดยตรงและโดยอ้อมคือ ประธานสภาอภิรัฐมนตรี (President
of the Supreme Council of State) ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
(President of the National Assembly) นายกรัฐมนตรี (Prime
Minister) และประธานศาลยุติธรรมสูงสุด (President of the Supreme
Court of Justice) ซึ่งพระมหากษัตริย์ในพระราชฐานะประมุขแห่งรัฐเป็นผู้ใช้
* คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต