Page 296 - kpi15476
P. 296

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   295


                      พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในกาลต่อ
                      มา ภายหลังวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะ

                      ราษฎรจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภาย
                      ใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) หรือระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
                      เป็นประมุข


                       1.2 โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภา


                            1)  องค์ประกอบของอภิรัฐมนตรีสภา


                              อภิรัฐมนตรีสภาประกอบด้วยสมาชิก 5 พระองค์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเสนาบดี

                      ในรัชกาลที่ 5 และ 6 ได้แก่ 1) สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์
                      กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช 2) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์
                      กรมพระนครสวรรค์วรพินิต 3) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรา-

                      นุวัดติวงศ์ 4) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                      5) พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ภายหลัง

                      ที่สมเด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชทิวงคตแล้ว ทรงพระกรุณา
                      โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 1 พระองค์เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2473 คือ สมเด็จเจ้าฟ้าฯ
                      กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ และต่อมาในวันที่ 21 ตุลาคม 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

                      แต่งตั้งเพิ่มเติมอีก 2 พระองค์ คือ พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน และ
                      พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย (ชาญชัย รัตนวิบูลย์, 2548: 161) จึงเห็นได้ว่า

                      อภิรัฐมนตรีรวมทั้งสิ้น 8 พระองค์ล้วนเป็นพระราชวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์จักรี ซึ่งเคยทรงดำรง
                      ตำแหน่งเสนาบดีและมีประสบการณ์สูงมากทุกพระองค์ รวมทั้งเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยและเป็นผู้
                      ที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งช่วยให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

                      ทรงประสบความสำเร็จในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศในระยะแรก ดังปรากฏใน
                      พระราชหัตถเลขาที่ทรงมีไปถึงพระยากัลยาณไมตรี มีความตอนหนึ่งว่า…


                               “...ทันทีที่ข้าพเจ้าเสวยราชย์ก็คิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุดที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อ
                         เรียกความเชื่อถือจากประชาชนกลับคืนมาอีก ดังนั้น จึงได้มีการตั้งอภิรัฐมนตรีสภาขึ้น ซึ่ง

                         ได้ผลทันทีและข้าพเจ้าได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนในวันเดียว เหตุที่การกระทำเช่นนี้
                         ได้ผลทันทีทันใดก็เพราะ มันเป็นความหวังสำหรับสิ่งซึ่งพึงปรารถนาหลายประการ

                         ประการแรกพระราชวงศ์เริ่มรวมกันและทำงานกันอย่างกลมเกลียว ประการที่สอง พระเจ้า
                         อยู่หัวมีความเต็มใจที่จะขอคำปรึกษาจากพระราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ซึ่งมีประสบการณ์มาแล้วใน
                         ราชการ และเป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ไม่มีขุนนางคนใดเลยที่เป็นที่เกลียด

                         ชังของประชาชนรวมอยู่ในสภานี้ ประการที่สาม พระราชอำนาจของกษัตริย์ที่จะทำอะไร
                         ตามใจพระองค์เองก็จะลดน้อยลงไป เมื่อมีสภานี้ (พึงระลึกว่าในสภาพความเห็นในประเทศ

                         ขณะนั้น คิดกันว่าพระมหากษัตริย์มีทางที่จะทำอะไรที่เป็นภัยมากกว่าที่จะทำดี)..”                   เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                         (ชัยอนันต์ สมุทวณิช, 2519: 84; อ้างถึงในชงคชาญ สุวรรณมณี, 2554: 1)
   291   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301