Page 297 - kpi15476
P. 297

29      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                         อย่างไรก็ดี แม้ว่าการจัดตั้งตั้งอภิรัฐมนตรีสภาได้ช่วยลดความกดดันในหมู่ข้าราชการ
                  และประชาชนที่เคยมีต่อสภาพการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ได้ในระยะแรกก็จริง แต่

                  เมื่อนานวันไปข้าราชการและประชาชนต่างเกิดความรู้สึกว่าอภิรัฐมนตีสภาเริ่มมีอำนาจมากเกินไป
                  เหมือนกับว่าพระมหากษัตริย์ทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของคณะอภิรัฐมนตรีสภา ซึ่งสำหรับ
                  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วพระองค์มิได้ทรงถือว่าคณะอภิรัฐมนตรีมีอิทธิพลเหนือกว่า

                  พระองค์แต่อย่างใด เพียงเป็นผู้ที่คอยให้คำปรึกษาราชการแผ่นดินเท่านั้น (ชงคชาญ สุวรรณมณี,
                  2554: 1)


                       2)  อำนาจหน้าที่ของอภิรัฐมนตรีสภา


                         อภิรัฐมนตรีสภาเป็นสภาการแผ่นดินสูงสุดที่มีบทบาทและอำนาจหน้าที่ในการเป็นที่
                  ปรึกษาราชการแผ่นดินทั้งปวงทั้งในด้านนโยบายและการนิติบัญญัติเพื่อประกอบพระราชวินิจฉัย

                  ตัดสินพระทัยสั่งการของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวในการบริหารราชการแผ่นดิน
                  ทั้งปวง อย่างไรก็ดี อภิรัฐมนตรีสภาไม่มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาราชการแต่อย่างใด เว้นแต่จะ
                  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พิเศษเฉพาะตัวบุคคลหรือเป็นการชั่วคราว การถวายคำปรึกษาโดย

                  ส่วนใหญ่ได้ทำในรูปของการประชุม ซึ่งต้องมีอภิรัฐมนตรีเข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 3 พระองค์
                  จึงจะถือว่าครบองค์ประชุม อภิรัฐมนตรีสภาสามารถกราบบังคมทูลถวายความเห็นเป็นการ

                  ส่วนพระองค์ได้ทุกเมื่อ ทั้งในเรื่องที่พระราชทานมาให้ถวายคำปรึกษา หรืออื่นๆ ที่อภิรัฐมนตรี
                  เห็นสมควร นอกจากนี้ อภิรัฐมนตรียังมีสิทธิเข้าร่วมประชุมในเสนาบดีสภา และมีสิทธิลงคะแนน
                  ได้ด้วย ในขณะที่เสนาบดีไม่มีสิทธิเข้าร่วมประชุมในอภิรัฐมนตรีสภา เว้นแต่จะได้รับเชิญเป็นกรณี

                  พิเศษ เช่น เข้าไปชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องต่างๆ ตลอดจนแสดงความคิดเห็นแต่ไม่มีสิทธิออกเสียง
                  (ชาญชัย รัตนวิบูลย์, 2548: 162-163)


                         การถวายความเห็นของอภิรัฐมนตรีสภาในเรื่องที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
                  พระราชทานลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล เพื่อประกอบการวินิจฉัย

                  ตัดสินพระทัยสั่งการ สามารถดำเนินการได้ 3 ลักษณะตามความสำคัญของเรื่อง (ชาญชัย
                  รัตนวิบูลย์, 2548: 81-82) ดังนี้


                          2.1) การพระราชวินิจฉัยตัดสินพระทัยสั่งการ โดยทางฟังความคิดเห็นจากอภิรัฐมนตรี

                               สภาและ/หรือเสนาบดีสภา เรื่องราวที่เข้าข่ายการพระราชทานวินิจฉัยตัดสิน
                               พระทัยสั่งการลักษณะนี้ นับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่สุด เช่น ปัญหาและ
                               นโยบายเกี่ยวกับการคลัง การเปลี่ยนแปลงตัวเสนาบดีกระทรวงต่างๆ เป็นต้น

                               ตามกระบวนการในแผนภูมิที่ 1
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302