Page 356 - kpi15476
P. 356

การวางรากฐานในการพัฒนาสถาบัน

                            ทางเศรษฐกิจ และสังคมของชาติ

                            นางวิสา เบ็ญจะมโน*





                                  การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไปเสมอ

                            เสมือนดังเกลียวเชือกที่ร้อยพันเข้าไว้ด้วยกัน เกลียวเชือกที่ร้อยพันกัน ย่อม
                            ทำให้เชือกเส้นนั้นมีพลัง เช่นเดียวกันกับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต้องดำเนินการ
                            ควบคู่กับการพัฒนาสังคม จะพัฒนาอย่างแยกส่วนกันไม่ได้ ประการสำคัญ

                            การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมย่อมต้องคำนึงถึง “คนเป็นศูนย์กลาง” ดังที่
                            พระมหากษัตริย์ไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทรงได้เป็นต้นแบบในการพัฒนา

                            เศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาสังคมเสมอมา จากการศึกษาค้นคว้าของผู้เขียน
                            พบว่าในอดีตที่ผ่านมา แม้ระบอบการปกครองจะเป็นระบอบ
                            สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นระบอบที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจ

                            แต่พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงเลือกใช้พระราชอำนาจบนหลักการ “ธรรมราชา”
                            โดยทรงคำนึงถึง “ประชาชน” ก่อนเสมอ ดังข้อมูลที่ผู้เขียนจะนำเสนอ ดังต่อ

                            ไปนี้


                            1.“ธรรมราชา : เสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์”



                                  แนวทางการพัฒนาสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่พระมหากษัตริย์ไทย

                            ทรงวางรากฐานและใช้หลักการ “ธรรมราชา” จะทรงคำนึงถึง “ประชาชน” เสมอ
                            ในที่นี้ผู้เขียนขอยกตัวอย่างพอสังเขป อาทิ


                                  ๏ สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อประมาณปี พ.ศ.1835 จาก
                            ศิลาจารึก แสดงให้เห็นเบื้องต้นถึงความเป็นธรรมราชาในการพัฒนาเศรษฐกิจ

                            และสังคม เช่น


                                    “เจ้าเมืองบ่เอาจกอบในไพร่ ลูท่างเพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย ใคร
                               จักใคร่ค้าช้าง ค้า ใครจักใคร่ค้าม้า ค้า ใครจักค้าเงือนค้าทอง ค้า”


                                    “ในปากปตูมีกดึงอันณึ่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฝ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง
                               มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวถึงเจ้าถึงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกดึง

                               อันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยิน เรียกเมื่อถาม สวน
                               ความแก่มันด้วยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม”



                              *  กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
   351   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361