Page 358 - kpi15476
P. 358

การประชุมวิชาการ
                                                                                          สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15   35


                               “หญิงนั้นอายุก็มากถึง 20 ปี เศษแล้ว ควรจะเลือกหาสามีตามใจชอบของตนเองได้
                         แต่ให้ชายคนรักจ่ายค่าเบี้ยละเมิดและค่าฤชาธรรมเนียมแก่ บิดา มารดาอำแดงเหมือน”


                            อีกกรณีคือ อำแดงจั่นได้ทูลเกล้าถวายฎีกา ร.4 โดยได้โทษสามีว่าลักเอาชื่อของตนไปขาย
                      ให้เป็นทาสของผู้อื่น โดยที่ตนมิได้รู้เห็นด้วย ร.4 จึงทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า “สามีลักเอาชื่อ

                      ภรรยาไปขาย ภรรยาไม่ได้รู้เห็นด้วยจะเรียกว่าเป็นเรือนเบี้ยไม่ควร”


                            ๏ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีทั้งการเสด็จประพาสต่างประเทศและ
                      การประพาสต้น (เพื่อทราบคำราษฎรกราบบังคมทูลปรารภกิจทุกข์ ทรงตรวจจัดการปกครอง
                      บางคราวก็เสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถ) มีพระราชดำริที่จะใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือให้

                      ผู้ที่เป็นทาสพ้นจากการเป็นทาส (ข้อมูลที่ผู้เขียนศึกษาพบว่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ
                      พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น มีการประมาณกันว่าไทยมีทาสเป็นจำนวนกว่าหนึ่งในสามของพลเมือง

                      ของประเทศ เพราะเหตุว่าพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ตกเป็นทาสอีกต่อๆ
                      กันเรื่อยไป ทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต เพราะ
                      ตามกฎหมายถือว่ายังมีค่าตัวอยู่)  การเลิกทาสและการเลิกไพร่นี้เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญ

                      ยิ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


                            ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าทรงเป็นธรรมราชา ที่คำนึงถึงสิทธิมนุษยชนด้านสิทธิพลเมืองก่อนที่เรื่อง
                      สิทธิในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นในสังคมโลก พระองค์ท่านได้ทรงมีแนวคิดที่ให้ความสำคัญและคำนึงถึง
                      ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล การไม่เลือกปฏิบัติ

                      โดยไม่เป็นธรรมต่อประชาชนเป็นสำคัญ


                            แนวพระราชดำริเกี่ยวกับการศึกษาของไทยที่แสดงว่า ทรงคำนึงถึงความเสมอภาคและ
                      เท่าเทียมของประชาชนคือ พระราชดำรัสว่า “วิชาหนังสือเป็นวิชาที่น่านับถือและเป็นที่น่า

                      สรรเสริญมาแต่โบราณว่า เป็นวิชาอย่างประเสริฐซึ่งผู้ยิ่งใหญ่นับแต่ พระมหากษัตริย์เป็นต้นมา
                      ตลอดจนราษฎรพลเมืองสมควรและจำเป็นจะต้องรู้เพราะเป็นวิชาที่อาจทำให้การทั้งปวงสำเร็จ
                      ในทุกสิ่งทุกอย่าง” ทั้งทรงเน้น “ความรู้” ต้องคู่กับ “ความดี” หรือ “คุณธรรม” ด้วย และพระ

                      ราชดำรัสที่สำคัญอีก ว่า “บัดนี้ เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเปนต้นไปตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำ
                      สุด จะได้มีโอกาสเล่าเรียนเสมอกัน ไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง ว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงบอกไว้ว่าการเล่า

                      เรียนในบ้านเมืองเรานี้จะเปนข้อสำคัญหนึ่งซึ่งฉันจะอุตสาห์จัดให้เจริญขึ้นจนได้” ทั้งยังได้
                      พระราชทานกำเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


                            รัชกาลนี้ยังได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของไทย จากการส่งออกของป่า และ
                      น้ำตาล เพิ่มการส่งออกข้าวและการจัดระบบชลประทาน มีการปฏิรูประบบการเงินการคลัง
                      การจัดทำน้ำประปา การไฟฟ้า และโรงพยาบาล ฯลฯ


                            ๏ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ พระผู้ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณ์

                      มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ทรงวางแนวทางการพัฒนาประเทศโดยทรงให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน                     เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย
                      อย่างมาก ประจักษ์พยานที่สำคัญก็คือทรงยอมรับการวิจารณ์จากนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์
   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363