Page 359 - kpi15476
P. 359

35      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                  ที่เขียนบทความกล่าวโจมตีรัฐบาล จนดูเหมือนว่าประเทศของเรามีการปกครองแบบประชาธิปไตย
                  อย่างเต็มที่แล้ว พระองค์ได้วางแผนให้ข้าราชการของพระองค์รู้จักการปกครองระบอบ

                  ประชาธิปไตยโดยจัดสร้างนครจำลองขึ้น นครจำลองนี้ได้พระราชทานนามว่า “ดุสิตธานี”
                  เพื่อฝึกฝนให้ข้าราชบริพารของพระองค์ได้รู้จักและเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยใน
                  วันข้างหน้า


                       ๏ สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นธรรมราชา ซึ่งมีพระราชกรณียกิจ

                  หลายประการอันถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งต่อพสกนิกรในช่วงรัชสมัยของพระองค์ และมีผล
                  สืบต่อมาจนถึงประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน เห็นได้ว่าแม้จะเป็นพระมหากษัตริย์ในช่วงการ
                  ปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ก็ทรงตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจ

                  และสังคม โดยการสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจและสังคมหลาย
                  ประการ ทรงโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติที่คุ้มครอง ส่งเสริมสิทธิสตรี สถาบันครอบครัว

                  และด้านเศรษฐกิจอื่นๆ อาทิ

                         >  พ.ร.บ.ว่าด้วยการค้าหญิงและเด็กหญิง พ.ศ. 2471 เพื่อปราบปรามการค้าหญิง

                  และเด็กหญิง ซึ่งมีผู้นำเข้ามาหรือพาออกไปจากประเทศสยาม มีสาระสำคัญหลักๆ ดังนี้


                          ผู้ใดนำหรือให้ผู้อื่นนำหญิงหรือเด็กหญิงเข้ามาประเทศสยาม เพื่อการรับจ้างให้เขาทำ
                     เมถุนกรรมก็ดี พาหรือให้ผู้อื่นพาหญิงหรือเด็กหญิงออกไปจากประเทศสยามเพื่อการ
                     รับจ้างให้เขาทำเมถุนกรรมก็ดี รับหรือจำหน่ายหญิง หรือเด็กหญิงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

                     โดยที่ตนรู้อยู่ว่ามีผู้นำเขามาในประเทศสยามเพื่อการดังว่ามานั้นก็ดี ท่านว่ามีความผิดต้อง
                     ระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินพันบาท หรือทั้งจำและปรับทั้งสองสถาน


                          ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจที่จะตรวจตราหญิงและเด็กหญิงทั้งปวงซึ่งเข้ามาสู่หรือจะออก

                     ไปจากประเทศสยาม

                           ต่อมาในภายหลังได้มีการปรับปรุงเป็น พ.ร.บ.มาตรการในการป้องกันและปราบ

                  ปรามการค้าหญิงและเด็ก พ.ศ.2540 ซึ่งมีความครอบคลุมมากขึ้นทั้งยังเอาผิดแม้ว่าจะอยู่ในขั้น
                  ตระเตรียมเพื่อกระทำความผิด ก็ต้องระวางโทษด้วย รวมถึงมีการระบุให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ
                  ตราสอดส่องดูแลตามท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ สถานีขนส่ง สถานบริการ โรงงาน และ

                  สาธารณสถานต่างๆ เพื่อมิให้เกิดการกระทำความผิดตามกฎหมายและในสมัยปัจจุบันยังได้มี
                  พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ขึ้นมาอีกฉบับหนึ่งด้วย


                           ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสายพระเนตรอันยาวไกลว่าเรื่องการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการค้า
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   มาก โดยทรงห่วงใยปกป้องและคุ้มครองเด็กหญิงและสตรี ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเกี่ยวกับสิทธิ
                  หญิงและเด็ก และการเอารัดเอาเปรียบทางเพศจะเป็นปัญหาที่ละเมิดศักดิ์ศรีของมนุษย์มากที่สุด
                  ประการหนึ่งในสังคมไทย ซึ่งในปัจจุบันปัญหานี้ก็ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่าง



                  มนุษยชนของเด็กและสตรีในปัจจุบัน โดยที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก
                  เมื่อ พ.ศ.2535 และอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ พ.ศ.2528

                  ซึ่งประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีต้องนำมาดำเนินการ ตัวอย่างอนุสัญญาฯ ทั้งสองฉบับ มีดังนี้
   354   355   356   357   358   359   360   361   362   363   364