Page 361 - kpi15476
P. 361

3 0     การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                             ผู้ใด เพื่อจะช่วยในการทำให้แพร่หลาย หรือช่วยในการค้า วัตถุอันลามกดังระบุ
                     ไว้ใน มาตรา ก่อน บังอาจประกาศโฆษณาหรือทำให้ทราบ ทั่วกันไปว่ามีบุคคลทำให้

                     แพร่หลาย หรือทำการค้าขายซึ่งวัตถุเช่นว่านี้ก็ดี หรือ ประกาศโฆษณาหรือทำให้ทราบกัน
                     ไป โดยตรงหรือโดยทางอ้อมก็ดี ว่าบุคคลอาจ หาวัตถุอันลามกดังกล่าวนั้นได้โดยวิธีใด
                     ฉะนี้ท่านว่ามันมีความผิดต้องระวาง โทษดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ก่อน


                           พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ เป็นกรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงทรงมีพระราชวินิจฉัยที่เป็น

                  ความก้าวหน้าในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะของเด็กและสตรี โดยใช้
                  มาตรการทางด้านกฎหมาย เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิเด็กและสตรี และนับ
                  เป็นปัญหาสังคมด้วย


                           ทั้งนี้ ภายหลังจากที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กแล้ว ยังได้

                  เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก เรื่อง การขายเด็ก การค้าประเวณีเด็ก
                  และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก ซึ่งรัฐภาคีทั้งหลายจะต้องห้ามมิให้มีการกระทำดังกล่าว โดยเฉพาะ
                  สื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก ซึ่งหมายถึงการนำเสนอใด โดยวิธีใดก็ตามที่เด็กเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องใน

                  กิจกรรมทางเพศอย่างชัดแจ้ง ทั้งที่เป็นจริงหรือจำลองขึ้นหรือการนำเสนออวัยวะส่วนใดในทางเพศ
                  ของเด็ก เพื่อความมุ่งประสงค์หลักในทางเพศ


                         >   พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ.2473  ซึ่งนับเป็นเหตุการณ์
                  ทางประวัติศาสตร์ในการส่งเสริมความเสมอภาคด้านกฎหมายครอบครัว เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของ

                  สถานะภรรยาสมัยปัจจุบัน เนื่องจากได้บัญญัติให้มีการจดทะเบียนสมรส หย่า รับรองบุตร ฯลฯ
                  โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นแบบอย่างของการมีพระมเหสีเพียงพระองค์

                  เดียว ไม่ทรงมีพระสนมและเจ้าจอมเลย


                           พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นจุดพลิกผันโครงสร้างของครอบครัวไทยสมัยโบราณ ที่ผู้ชาย
                  นิยมมีภรรยาหลายคน อันเป็นวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมานาน การกำหนดกฎหมายขึ้นบังคับ
                  นับเป็นมาตรการสำคัญที่ทรงใช้ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอย่างเป็นองค์รวม ประการ

                  สำคัญคือแสดงให้เห็นถึงความพยายามของพระองค์ในการปรับเปลี่ยนค่านิยมในสังคมแบบดั้งเดิม
                  มาเป็นสังคมผัวเดียวเมียเดียว ซึ่งมิใช่เรื่องง่าย พระองค์ทรงใช้วิธีการละมุนละม่อม โดยกฎหมาย

                  ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2475

                           ต่อมามีการนำเอกสารสาระสำคัญของ พ.ร.บ.นี้ มารวมไว้ในประมวลกฎหมายแพ่ง

                  และพาณิชย์ บรรพที่ 5 ว่าด้วยเรื่องครอบครัว ประกาศเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2478 ส่งผลให้มี
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   สถานภาพสตรีอย่างสูงยิ่ง ทรงเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปรับรื้อโครงสร้างระบบความคิดของ
                  การยอมรับหลักการมีภรรยาชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียวในปัจจุบัน

                           กรณีนี้ถือได้ว่าทรงมีความกล้าหาญ มีคุณธรรมและจริยธรรม และให้การยอมรับ



                  คนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องสิทธิสตรี ท่ามกลางทัศนคติความเชื่อและแบบแผนความประพฤติทาง
                  สังคม ที่ฝังรากลึกมายาวนาน จนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ และเกิดการยอมรับว่าชายไทยสามารถ
   356   357   358   359   360   361   362   363   364   365   366