Page 357 - kpi15476
P. 357

35      การประชุมวิชาการ
                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 15


                         นอกจากนั้น ยังโปรดให้มีการศึกษาภาษาบาลี ภาษาไทยและวิชาสามัญขั้นต้น จัดโดย
                  วัดสำหรับบุตรหลานขุนนางและราษฎรทั่วไป รวมถึงสำนักราชบัณฑิต สำหรับเจ้านายและ

                  บุตรหลานข้าราชการ

                       ๏ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช การพัฒนาคนด้านการศึกษาได้ดำเนินอย่างต่อเนื่อง

                  จนมีแบบเรียนภาษาไทยชื่อจินดามณี แต่งโดยพระโหราธิบดี มีการเรียนในราชสำนัก และสำนัก
                  ราชบัณฑิต และโรงเรียนของมิชชันนารี จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มมีความจำเป็นในการ

                  เรียนรู้ภาษาต่างประเทศ และวิทยาการอื่นๆ เนื่องจากเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อค้าขายและ
                  ทำหนังสือสัญญา รวมถึงการเผยแพร่ศาสนาของมิชชันนารีมากขึ้น


                       ๏ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีชาวโปรตุเกสเข้ามาติดต่อ ตามด้วย
                  ชาติอื่นๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส ฮอลันดา ฯลฯ ทรงส่งเสริมการศึกษาทั้งวิชาสามัญ โหราศาสตร์

                  ดาราศาสตร์ จริยศาสตร์ โปรดให้สร้างโรงทานในพระบรมมหาราชวัง นอกจากจัดอาหารเลี้ยง
                  แล้ว ยังเป็นที่ให้การศึกษาด้วย


                       ๏ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจารึกความรู้สามัญและวิชาชีพลงใน
                  แผ่นศิลาประดับระเบียงวัดพระเชตุพน เป็นแหล่งความรู้เปิดแห่งแรกแก่คนทั่วไป มีหนังสือไทย

                  ประถม ก กา และ ประถม มาลา ทรงยอมรับวิทยาการตะวันตก ทั้งการแพทย์ การพิมพ์
                  รวมถึงการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรก ทั้งยังทรงมีความเชี่ยวชาญในการค้าขายกับต่างประเทศมาก
                  โดยเฉพาะกับประเทศจีน นับเป็นยุคทองของการค้าขาย เศรษฐกิจของประเทศมั่งคั่ง เงินทอง

                  เต็มท้องพระคลัง และทรงเก็บพระราชทรัพย์บางส่วนไว้ในถุงแดง ซุกซ่อนไว้ตามบัลลังก์ ซึ่งใน
                  ภายหลัง ทรัพย์ในถุงแดงนี้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาจ่ายเป็น

                  ค่าปรับ กรณีพิพาทระหว่างประเทศ รศ.112 (พ.ศ.2436) และมีส่วนช่วยให้ประเทศรอดพ้น
                  วิกฤติกรณีทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น


                       ๏ สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ
                  วิทยาการสมัยใหม่ ทั้งคณิตศาสตร์ และการคำนวณขั้นสูง มีการตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่คน

                  ทั่วไป ให้มีความรู้สามัญ มีการส่งข้าราชการไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ และตั้ง “โรงพิมพ์
                  อักษรพิมพการ” ใช้พิมพ์ “ราชกิจจานุเบกษา”


                       อีกทั้งในรัชกาลนี้ ก็มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเรียกร้องสิทธิของสตรีเกิดขึ้น คือ อำแดง
                  เหมือนที่ชอบพอกับชายคนหนึ่ง แต่บิดา มารดา จะจัดการให้แต่งงานกับชายอีกคนหนึ่งโดย

                  อำแดงเหมือนไม่สมัครใจ บิดา มารดา จึงทุบตี บีบบังคับให้แต่งงานกับชายคนนี้ แต่อำแดง
        เอกสารประกอบการประชุมกลุ่มย่อย   โดยชายคนที่ บิดา มารดาพอใจ ได้ฟ้องกล่าวหา ชายคนรัก บิดา มารดาและญาติผู้ใหญ่ของชาย
                  เหมือนหลบหนีไปได้ พอกลับถึงบ้านก็ถูกทุบตี และขู่จะฆ่าจนต้องหนีไปอยู่กับชายคนรัก ต่อมา
                  อำแดงเหมือน คนรัก และบิดา มารดาของคนรัก ถูกหมายเรียกตัวไปยังศาลากลางเมืองนนท์



                  คนรัก มีเหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจนอำแดงเหมือนถูกควบคุมตัว ถูกขัง จนต้องหลบหนีไปถวาย

                  ฎีกา ร.4 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2408 ร.4 มีพระบรมราชวินิจฉัยว่า
   352   353   354   355   356   357   358   359   360   361   362