Page 399 - kpi17968
P. 399
388
ความไม่เป็นธรรมทางสังคมทั้งหลายนั้น เป็นเรื่องที่มีรากเหง้าปัญหาและมีความ
เรื้อรังมาอย่างยาวนาน หรือมีความสลับซับซ้อนจนยากเกินกว่า ‘กระบวนการ
ยุติธรรม’ จะเข้าไปทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิให้แก่คู่กรณี ผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือผู้ที่
ไม่ได้รับความเป็นธรรมแล้วแต่กรณีเช่นนั้นหรือ นั่นเป็นประเด็นถกเถียงที่อาจเกิด
จากวิธีการมองปัญหารูปแบบหนึ่งคือ มองปัญหาจาก ‘ข้างในออกมาข้างนอก’
(inside out) ในทางตรงกันข้าม หากมองปัญหาจาก ‘ข้างนอกเข้าไปข้างใน’
(outside in) คู่กรณี ผู้ที่ถูกเลือกปฏิบัติ หรือผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมเหล่านั้น
แม้จะรู้อยู่ว่าสามารถเรียกร้องการคุ้มครองสิทธิ และความเป็นธรรมต่อกรณีต่างๆ
ที่ตนประสบจาก ‘กระบวนการยุติธรรม’ ที่ตั้งอยู่ในสังคมนั้นๆ ได้ แต่ผู้คนเหล่านั้น
กลับมีอุปสรรคขวากหนามบางประการที่ทำให้ ‘เข้าไม่ถึง’ หรือ ไม่สามารถ
เข้าถึง ‘กระบวนการยุติธรรม’ เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมตามสิทธิพลเมือง
ของตนได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุแห่งกลไกที่สังคมกำหนดขึ้นมานั้นกลายสภาพเป็น
อุปสรรคเสียเอง เช่น นโยบาย กฎหมาย กฎ ระเบียบ ฯลฯ หรือเหตุแห่งการนำ
กลไกที่กำหนดเหล่านั้นไปปฏิบัติโดยขั้นตอน แบบแผน กระบวนการ หรือผู้คนที่
เกี่ยวข้องก็ตาม แต่ผลลัพธ์ของทั้งสองกรณีกลับเหมือนกัน คือเกิดความเหลื่อมล้ำ
และความไม่เป็นธรรมขึ้นในสังคม ซึ่งกลายเป็นปัญหาใหม่ซ้อนทับเข้ามา ขณะที่
ปัญหาความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมทางสังคมเรื่องเดิม
ที่เกิดขึ้นและต้องการความช่วยเหลือนั้น ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด
เมื่อเป็นเช่นนี้ เรื่องของ ‘สิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมือง’ ที่ถูกเขียนไว้ใน
แบบเรียน กฎหมาย และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ก็เป็นเพียงตัวอักษรที่ถ่ายทอดทาง
วิถีวัฒนธรรม และธรรมเนียมแบบแผน ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ ผ่านสังคมยุคหนึ่งสู่
สังคมอีกยุคหนึ่ง ทิ้งความขัดแย้ง ความเหลื่อมล้ำ และความไม่เป็นธรรมทาง
สังคมให้คงอยู่ตามยถากรรม เช่นนั้นแล้ว ‘ระบบยุติธรรมแห่งอนาคต’ ควรมี
รูปลักษณ์เช่นไร จึงจะทำให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองกับระบบ
ยุติธรรมทำงานร่วมกันได้อย่างสมบูรณ์
การประชุมกลุมยอยที่ 4