Page 403 - kpi17968
P. 403

392




               แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ หรือโดยการพิจารณาและมติในคำร้อง

               เรียนต่างๆ ที่เสนอโดยปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ทั้งนี้สถาบันสิทธิมนุษยชน
               แห่งชาติ มี 3 รูปแบบ คือ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน (Human Rights
               Commissions) ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา (Ombudsman) และสถาบันที่จัดตั้ง

               ขึ้นเป็นพิเศษ (Specialized Institutions)

                       ๏ อำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ และแนวทางการดำเนินงานของ

               สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อให้แต่ละประเทศนำไปเป็นแนวทางจัดตั้ง
               สถาบันสิทธิมนุษยชนภายในประเทศอย่างเป็นเอกภาพ หลักการปารีสจึงแนะนำว่า

               สถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรมีอำนาจหน้าที่ครอบคลุมถึงการคุ้มครอง
               และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางเท่าที่จะเป็นไปได้ และอำนาจดังกล่าว
               ตลอดจนองค์ประกอบและเขตอำนาจของสถาบันควรบัญญัติรับรองไว้อย่างชัดเจน
               ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายอื่น และในข้อนี้ยังได้กล่าวถึงเรื่องของ 2.1) อำนาจ

               หน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 2.2) องค์ประกอบและหลักประกัน
               ความเป็นอิสระของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ 2.3) แนวทางการดำเนิน
               งานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติไว้ด้วย


                     5.2 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of

               Human Rights) แห่งสหประชาชาติ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ.
               1948 (พ.ศ. 2491) โดยสถานะทางกฎหมาย ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
               1948 เป็นเพียงคำประกาศ มิได้มีผลบังคับใดๆ ในทางกฎหมาย จึงเป็นเหตุผลที่
               ทำให้ทุกฝ่ายรอมชอมยอมรับกันได้ ไทยในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การ

               สหประชาชาติอันดับที่ 55 ได้รับหลักการนี้มาเป็นแนวทางปฏิบัติเช่นกัน

                     นอกจากหลักการปารีส และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังมี

               สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนอื่นๆ ที่สำคัญๆ ซึ่งมีลักษณะเป็นสนธิสัญญา
               พหุภาคี อีกด้วย กล่าวคือเป็นสนธิสัญญาที่มีรัฐมากกว่าสองรัฐขึ้นไปเข้าเป็นภาคี

               สนธิสัญญา ซึ่งกระบวนการในการทำสนธิสัญญามีหลายขั้นตอน นับตั้งแต่การ
               เจรจา การให้ความยินยอมของรัฐเพื่อผู้พันตามสนธิสัญญาโดยการลงนาม การให้
               สัตยาบัน การภาคยานุวัติ และบางรัฐอาจตั้งข้อสงวน หรือตีความสนธิสัญญา







                   การประชุมกลุมยอยที่ 4
   398   399   400   401   402   403   404   405   406   407   408