Page 402 - kpi17968
P. 402
391
มาตรา 4 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการ
คุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทย ในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทย
มีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
4 พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542
เพื่ออนุวัตรให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 มาตรา 199 และมาตรา 200 จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กำหนดอำนาจหน้าที่ และ
สาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไว้ในหมวด 1
กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ไว้ใน
หมวด 2 กำหนดเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ไว้ในหมวด 3 และ
บทกำหนดโทษ ไว้ในหมวด 4 ตามลำดับ
5 พันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็น
ภาคี
5.1 หลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการ
คุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน (Principle relating to the status and
functioning of national institution for protection and promotion of human
rights) หรือหลักการปารีส (Paris Principles) เป็นพันธกรณีระหว่างประเทศ
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีที่สำคัญยิ่ง ซึ่งมีสาระสำคัญๆ โดย
สังเขป ดังนี้
๏ รูปแบบของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สถาบันสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ให้คำปรึกษา
เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในระดับชาติและระดับระหว่างประเทศ โดยมีลักษณะการ
ดำเนินงานในเชิงบริหาร ไม่ใช่ศาลหรือฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งดำเนินการโดยการ
การประชุมกลุมยอยที่ 4