Page 401 - kpi17968
P. 401
390
ในส่วนของอำนาจหน้าที่ของรัฐด้านสิทธิมนุษยชน และกลไกสำคัญของรัฐ
ในการนำหลักประกันสิทธิมนุษยชนไปปฏิบัติ คือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาตินั้น ได้รับการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
และพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังนี้
1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งเป็นที่มาของ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ระบุประเด็นสำคัญๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
และกลไกของรัฐในการนำเจตนารมณ์ดังกล่าวไปปฏิบัติ ดังนี้
มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับ
ความคุ้มครอง
มาตรา 199 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประกอบด้วยประธาน
กรรมการคนหนึ่งและกรรมการอื่นอีกสิบคน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตาม
คำแนะนำของวุฒิสภา จากผู้ซึ่งมีความรู้หรือประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิ
เสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ โดยต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของ
ผู้แทนจากองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนด้วย
2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังคงให้ความ
สำคัญกับหน้าที่ของรัฐในการเป็นหลักประกันสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และปรับปรุงประเด็นเรื่อง
สิทธิของชุมชนให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
3 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
กำหนดรับรองสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไว้ดังนี้
การประชุมกลุมยอยที่ 4