Page 400 - kpi17968
P. 400
389
ิ ธิมน ยชน ละ ิ ธิ ล ม ิ ธิ ะไร ิ ธิ ร
สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิที่ติดตัวมนุษย์มาตามธรรมชาติซึ่งมีมาก่อนรัฐและ
อยู่เหนืออำนาจรัฐ รัฐต้องให้ความเคารพสิทธิดังกล่าว และแสดงให้เห็นเป็นที่
ประจักษ์ทั้งในการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติโดยหน่วยงานของรัฐ
เนื่องจากรัฐมีอำนาจปกครองสังคม และมีหน้าที่รักษาหลักนิติธรรมของประเทศ
สิทธิมนุษยชนจึงจำเป็นต้องได้รับการบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด
ที่ใช้ในการปกครองประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันพื้นฐานด้านสิทธิของปัจเจกบุคคล
ขณะเดียวกัน รัฐในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมโลกย่อมมีกิจกรรมต่างๆ ที่ผูกโยง
รัฐไว้กับสังคมภายนอกทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเช่นกัน ดังนั้นพันธกรณี
ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคีจึงเป็นเครื่องมือและ
กลไกทางกฎหมายที่ให้การรับรองสิทธิมนุษยชนของมนุษย์ทุกคนในเชิง
ปัจเจกบุคคล และยังผูกพันให้รัฐมีหน้าที่ต้องดำเนินการดูแล รักษา หรือประกัน
การใช้สิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ส่วนสิทธิของพลเมือง นั้น เป็นสิทธิที่ระบุไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ
มนุษยชน จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
๏ สิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพ
และความมั่นคงของบุคคล อิสรภาพจากความเป็นทาสและการถูกทรมาน ความ
เสมอภาคในทางกฎหมาย การคุ้มครองเมื่อถูกจับ กักขัง หรือเนรเทศ สิทธิที่จะ
ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม การมีส่วนร่วมทางการเมือง สิทธิในการ
สมรสและการตั้งครอบครัว เสรีภาพขั้นพื้นฐานในทางความคิด มโนธรรม และ
ศาสนา การแสดงความคิดเห็น และการแสดงออก เสรีภาพในการชุมนุม และ
เข้าร่วมสมาคมอย่างสันติ สิทธิในการมีส่วนในรัฐบาลของประเทศตนโดยทางตรง
หรือ โดยการส่งผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเสรี
๏ สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งครอบคลุมถึงสิทธิในการ
ทำงาน การได้รับค่าตอบแทนเท่ากันสำหรับงานที่เท่ากัน สิทธิในการก่อตั้งและ
เข้าร่วมสหภาพแรงงาน สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสม สิทธิในการ
ศึกษา และสิทธิในการเข้าร่วมใช้ชีวิตทางวัฒนธรรมอย่างเสรี
การประชุมกลุมยอยที่ 4