Page 432 - kpi17968
P. 432
421
จากการที่พนักงานสอบสวน สภ.รือเสาะ ส่งสำนวนไปยัง ป.ป.ช. โดยอ้าง
ว่าการทำร้ายร่างกายนายยะผา กาเซ็ง โดยเจ้าหน้าที่ทหารจนเสียชีวิตนั้น แทนที่
จะส่งสำนวนให้อัยการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ต้องหาต่อศาลเป็นความผิดตาม
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (5) ประกอบมาตรา 83 ฐานร่วมกันฆ่า
ผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย กลับถือว่าเจ้าหน้าที่ทหารปฏิบัติ
หน้าที่โดยมิชอบ และส่งสำนวนให้ ป.ป.ช. ซึ่งก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย
ของญาติผู้ตายว่าอาจเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นการสืบสวนสอบสวน หรือเจตนา
หน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า เพื่อเปิดโอกาสให้มีการบิดเบือนคดีหรือไม่ ทั้งนี้จากการ
ที่เจ้าหน้าที่ทหารทรมาน ทำร้ายร่างกายจนทำให้นายยะผาเสียชีวิตนั้น น่าเป็น
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 (5) ซึ่งมีโทษประหารชีวิต
มากกว่าที่จะเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา 157 ซึ่งมี
โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ และอยู่ในอำนาจการสอบสวนของ ป.ป.ช.
สุดท้ายหากมีการดำเนินคดีถูกกล่าวหาที่ ป.ป.ช.ชี้มูลเจ้าหน้าที่เพียง
1 คนในศาลทหารนั้นจึงเป็นการปิดโอกาสที่จะให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นญาติของ
นายยะผา กาเซ็ง เข้าไปเป็นโจทก์ร่วมในการดำเนินคดี ญาติไม่สามารถเสนอ
พยานหลักฐานต่อศาลได้ ผู้กระทำผิดรายอื่นลอยนวลพ้นผิด เหล่านี้เป็นการ
ตอกย้ำว่าในที่สุดญาติพี่น้องของนายยะผา กาเซ็ง ประชาชนทั้งในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้และสาธารณะชนที่ติดตามคดีสะเทือนขวัญนี้มากว่า 7 ปี ก็ไม่สามารถ
แสวงหาความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรมไทยได้ ปัญหานี้อาจส่งผลเสีย
หายต่อความพยายามของรัฐบาลและประชาชนในการสร้างสันติสุขในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้
การอำนวยความเป็นธรรมกรณีอิหม่ามยะผานั้นยังแสดงให้เห็นว่าทาง
การไทยปล่อยปละละเลยให้มีการทรมานนายยะผา กาเซ็ง กระทั่งน่าเชื่อได้ว่า
มีเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่ระดับผู้บังคับบัญชารู้เห็นเป็นใจต่อการ
กระทำดังกล่าว ทั้งการสอบสวนดำเนินคดีที่ขาดความโปร่งใส เสียงเรียกร้องและ
การมีส่วนร่วมในการดำเนินคดีของผู้เสียหายถูกปฏิเสธ จนทำให้เจ้าหน้าที่
ที่กระทำผิดลอยนวลมานับเป็นเวลากว่า 7 ปีหรือตลอดไป ถือว่าเป็นการละเมิด
การประชุมกลุมยอยที่ 4