Page 433 - kpi17968
P. 433
422
ต่อพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่ตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน
อย่างชัดเจน
บทเรียนราคาแพงจากการเสียชีวิตของนายยะผา กาเซ็งนั้นยังพบว่า
ข้อจำกัดทางกฎหมายทำให้คนผิดยังคงลอยนวล ญาติของผู้ตายนั้นไม่อาจดำเนิน
การเอาผิดกับผู้กระทำผิดได้ ทำให้ไม่มีการทบทวนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า
เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งปฏิบัติราชการในหน้าที่ได้กระทำการเหมาะสมกับเหตุการณ์หรือ
ไม่ หากไม่เกิดการอำนวยความยุติธรรมอย่างแท้จริงและการดำเนินงานของแต่ละ
องค์กรควรมีทิศทางและดำเนินงานที่เป็นอิสระ รวดเร็ว และเป็นธรรม ราชการ
ไทยก็ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชนว่าจะได้รับความเป็นธรรมอย่าง
แท้จริง
ิ ธิมน ยชน ละ าม ป นธรรม ะ กิ นไ ย า ไร
ความโปร่งใสในกระบวนการยุติธรรมไทยเป็นประเด็นในสังคมไทยมาช้า
นาน คดีดังสำคัญที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงหลักการด้านสิทธิมนุษยชน
ในกระบวนการยุติธรรมได้แก่คดีเชอรี่แอน ดันแคน เหตุเกิดเมื่อปี พ.ศ. 2529
ในทางกฎหมายก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย รวมทั้งกระบวนการยุติธรรม
ไทยให้มีมาตรฐานทัดเทียมกับสากลในตัวบทกฎหมายในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่
เมื่อเกิดข้อกังขาในทิศทางการสอบสวนจากคดีที่เป็นที่สนใจของประชาชนจนถึง
ข่าวคราวเรื่องการจับแพะหรือการทรมานผู้ต้องหาที่ผิดหลักสิทธิมนุษยชน เช่น
กรณีผู้ต้องหาคดีเกาะเต่า ที่เป็นการจับกุมกล่าวหาผู้ต้องหาชาวพม่าสองคนใน
กรณีนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษสองคนถูกฆาตกรรมเมื่อเดือนกันยายน ปีพ.ศ.
2557 หน่วยงานของรัฐกลับไม่สามารถแสดงความโปร่งใสในกระบวนการ
ยุติธรรมให้สาธารณะชนวางใจหรือไว้ใจกระบวนการยุติธรรมได้ สื่อออนไลน์ได้ทำ
หน้าที่ในการตั้งคำถามต่อข้อสงสัยเรื่องสิทธิมนุษยชนและความยุติธรรมอย่างไม่
เคยปรากฎมาก่อนในช่วงที่มีการสืบสวนสอบสวนคดีเกาะเต่าในช่วงปลายปี 2557
เป็นต้นมา
การประชุมกลุมยอยที่ 4