Page 431 - kpi17968
P. 431
420
ราชการ หลังจากที่กล่าวหาเจ้าหน้าที่ทหาร 5 นายว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วม
กันทำร้ายร่างกายนายยะผา กาเซ็ง จนเสียชีวิต จึงส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อไต่สวนดำเนินคดี โดยส่ง
ไปตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2551 แต่การดำเนินการของ ป.ป.ช. เป็นไปด้วยความ
ล่าช้า ญาติจึงได้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ต่อศาลจังหวัดนราธิวาสด้วยตนเอง แต่เมื่อวันที่
2 กันยายน 2553 ศาลไม่รับฟ้อง โดยให้เหตุผลว่า คดีนี้เป็นการกล่าวหาจำเลยที่
เป็นทหารว่ากระทำความผิด การพิจารณาคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม
แต่อยู่ในอำนาจของศาลทหาร ซึ่งญาติของนายยะผา กาเซ็ง ซึ่งเป็นผู้เสียหาย
ไม่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลทหารได้ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้เฉพาะอัยการ
ทหารเท่านั้นที่จะเป็นโจทก์ยื่นฟ้องทหารที่ตกเป็นผู้ต้องหาต่อศาลทหารได้
จากติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานของพนักงานสอบสวน
สภ.รือเสาะ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(ป.ป.ช.) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การพิจารณาของ ป.ป.ช. คดีเลขดำที่ 01-2-115/
2552 เลขแดงที่ 120-2-5/2558 ที่ใช้เวลากว่า 7 ปีนั้นล่าช้าและไม่มี
ประสิทธิภาพ โดย ป.ป.ช. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์เห็นชอบตามคณะอนุกรรมการ
ไต่สวนว่า เจ้าหน้าที่ทหารผู้ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันกระทำผิดจากทั้งหมด 5 คนนั้น
มีเพียง 1 คนที่อาจเป็นผู้กระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายนายยะผา กาเซ็ง ส่วน
เจ้าหน้าที่ทหารผู้ถูกกล่าวหาอีก 4 คนนั้นไม่ปรากฏข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
เพียงพอที่จะฟังได้ว่าได้ร่วมกระทำความผิดตามที่กล่าวหา
อีกทั้งพบว่าผลการสอบสวนของ ป.ป.ช. นั้นไม่สอดคล้องกับคำให้การของ
พยานในคดีไต่สวนชันสูตรศพนายยะผา กาเซ็ง ของศาลจังหวัดนราธิวาส
ซึ่งพยานได้ระบุว่าเห็นผู้กระทำผิดคนอื่นด้วย ซึ่งทำให้เชื่อได้ว่าผู้กระทำผิดในครั้ง
นั้นมีมากกว่าหนึ่งคน ทั้งพฤติกรรมของการทรมาน ทำร้ายร่างกายในระหว่างการ
คุมขัง 2 วัน มีผู้เสียหายจากการทรมานที่บาดเจ็บหนักอีกสองคนในเหตุการณ์
เดียวกัน จึงเป็นไปไม่ได้ที่การทำร้ายร่างกายจะเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการร่วมมือ
สนับสนุน หรือรู้เห็นเป็นใจของเจ้าหน้าที่หลายคนและผู้บังคับบัญชา แต่ทาง
ป.ป.ช. กลับชี้ว่าไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอในการดำเนินคดีเจ้าหน้าที่ทหารอีก
4 คน ทำให้ญาติตั้งข้อสงสัยต่อความมีประสิทธิภาพ ความเป็นอิสระและความ
โปร่งใสในการสอบสวนของ ป.ป.ช.
การประชุมกลุมยอยที่ 4