Page 434 - kpi17968
P. 434

423




                         นอกจากสื่อออนไลน์ที่มามีบทบาทอย่างรวดเร็วในการตรวจสอบความโปร่งใส

                   ในกระบวนการยุติธรรม ในกลไกของประเทศไทยมีกลไกที่เข้ามาตรวจสอบและ
                   ให้ความช่วยเหลือผู้ต้องหาที่อาจกลายเป็นเหยื่อในกระบวนการยุติธรรมได้ แม้
                   บางครั้งผู้ทำหน้าที่นี้จะถูกกล่าวหาว่าเป็นทนายโจรหรือช่วยคนทำความผิดก็ตาม

                   ยกตัวอย่างเช่น บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตั้งแต่ปี 2542
                   และรวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงานด้านความยุติธรรม ทั้งการ
                   ทำงานของกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรมที่เฝ้าพยายามนำหลักการ

                   ด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นรัฐภาคีอยู่ด้วยกันถึง 7 ฉบับ ได้แก่
                   (1) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
                   - ICESCR (2) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

                   - ICCPR (3) อนุสัญญาฯ ว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ
                   - CERD (4) ปฏิญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
                   - CEDAW (5) อนุสัญญาฯ ว่าด้วยสิทธิเด็ก - CRC (6) อนุสัญญาฯ ต่อต้าน

                   การทรมานและการปฏิบัติอื่นหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยี
                   ศักดิ์ศรี - CAT และ (7) อนุสัญญาฯ สิทธิผู้พิการ หลักการในกฎหมาย
                   สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเหล่านี้ถูกนำมาเป็นหลักการในการปฏิบัติให้

                   สอดคล้องโดยความพยายามในการประสานความรู้ความเข้าใจกับหน่วยงานรัฐ
                   อื่นๆ เช่น ทหาร ตำรวจ อัยการ ราชทัณฑ์ แต่ก็นับว่าสิ่งที่ยังขาดและยังต้องการ
                   พัฒนาปรับปรุงนั้นได้แก่การขยายประสิทธิภาพการให้ความช่วยเหลือทาง

                   กฎหมายต่อประชาชนทั้งผู้เสียหายและผู้ต้องหาอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

                         ยิ่งหากประเทศมีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษและอยู่ท่ามกลางบรรยากาศ

                   ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จากประสบการณ์ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในมูลนิธิผสาน
                   วัฒนธรรม โดยเฉพาะคดีในพื้นที่ความขัดแย้งชายแดนใต้ที่ประกาศใช้กฎอัยการ
                   ศึกมาแล้ว 10 ปี โดยเทียบเคียงขณะนี้ประเทศถูกปกครองโดยรัฐทหาร รัฐบาล

                   มาจากการรัฐประหาร แม้ว่าจะมีการอ้างอิงถึงคำสั่งประกาศรัฐธรรมนูญฉบับ
                   ชั่วคราวที่ใช้กันอยู่ แต่พื้นฐานไม่ได้มาจากประชาชน เราในฐานะประชาชน
                   ในประเทศนี้ต้องเคารพสิ่งเหล่านั้นเหมือนเป็นกฎหมาย ก็เลยมีสิ่งทีเรียกว่า

                   “ความขัดกันในหลักการด้านสิทธิมนุษยชน” แม้ทางการจะอ้างอิงว่าได้ดำเนินการ
                   ทุกอย่างตามกฎหมาย





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 4
   429   430   431   432   433   434   435   436   437   438   439