Page 439 - kpi17968
P. 439
428
จะเห็นได้ว่าการใช้วิธีการในกระบวนการทางกฎหมายทั้ง 2 วิธี เมื่อเชื่อมโยงกับ
กฎหมายพบว่าในอดีตการใช้อำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินคดีอาญา
หรือการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งนั้น จะใช้พยานหลักฐานในการนำไปสู่
การใช้มาตรการลงโทษผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้กระทำความผิดโดยต่างฝ่ายต่างก็อ้าง
พยานหลักฐานมาสู้กันและมักจะใช้เวลานาน ด้วยเหตุนี้ การลงโทษผู้กระทำความ
ผิดฝ่ายการเมืองอาจทำได้ยาก จึงเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) โดยกำหนดให้มีฐานะเป็นองค์กรอิสระ
ไม่อยู่ภายใต้อำนาจทางการเมือง ทำให้กล้าที่จะดำเนินการไต่สวนและรวบรวม
พยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดฝ่ายการเมือง
ปัญหาพื้นฐานของการดำเนินคดีอาญาไม่ว่าจะโดยตำรวจหรือ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ยังจำเป็นที่จะต้องมี
พยานหลักฐานและกระบวนการให้ความเป็นธรรม เพราะการจะนำผู้กระทำ
ความผิดมาลงโทษนั้นจำเป็นต้องใช้หลักการพิสูจน์และกระบวนการให้ความเป็น
ธรรม และคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา อันนำมาสู่ปัญหาที่มักจะพูดกันว่า
“การดำเนินคดีทุจริตบางครั้งขาดประสิทธิภาพล่าช้าและไม่สามารถนำเอาตัว
ผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้” ด้วยเหตุว่าพยานหลักฐานที่มีอยู่ไม่มีน้ำหนักหรือ
ไม่สามารถจะเอาผิดผู้ถูกกล่าวหาได้ ในส่วนนี้มีข้อคิดเกี่ยวกับประเด็นเรื่อง
หลักนิติธรรมดังนี้
1. ปัญหาการใช้กฎหมาย ซึ่งคดีทุจริตมีหลักการที่ควรให้ความสำคัญ
ที่เกี่ยวข้องนิติธรรมคือ หลักการให้ความเป็นธรรม กล่าวคือ จะต้องไม่ถูกเลือก
ปฏิบัติ และต้องมีกระบวนการที่ชัดเจนในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดใน
การแสวงหาข้อเท็จจริงไปสู่กระบวนการตัดสินชี้ขาดในท้ายที่สุดหากพิจารณาให้ดี
จะเห็นว่าเหมือนเป็นหลักประกัน แต่อีกมุมก็เหมือนเป็นการสร้างปัญหาในเรื่อง
ประสิทธิภาพ เพราะกระบวนการในการดำเนินการทั้งหลายยากจะนำไปสู่ความ
รวดเร็ว เมื่อเป็นกระบวนการทางกฎหมาย การจะนำเอาตัวผู้กระทำความผิด
มาลงโทษให้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเกิดขึ้นได้ยาก เริ่มตั้งแต่การรวบรวมพยาน
หลักฐานไปจนถึงขั้นตอนการเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้คดี ในกระบวนการ
เหล่านี้หากผู้กระทำความผิดเป็นฝ่ายการเมืองยิ่งเป็นเรื่องยาก เพราะฝ่าย
การประชุมกลุมยอยที่ 5