Page 440 - kpi17968
P. 440
429
การเมืองเป็นคนใช้ดุลยพินิจ เป็นคนใช้อำนาจในการสั่งการ คนปฏิบัติคือ
ข้าราชการประจำฝ่ายปฏิบัติการ ดังนั้นการจะสืบสาวไปถึงฝ่ายการเมืองที่เป็น
คนสั่งการ ต้องใช้เวลา
2. ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้มีการต่อสู้ เป็นเรื่องของ
ปัญหาการใช้กฎหมายในเชิงหลักการที่เกี่ยวข้องหลักนิติธรรม โดยกำหนดให้
กลไกในกระบวนการยุติธรรมจะต้องเปิดเผย ให้เหตุผลได้ถึงการกระทำต่างๆ
และอ้างอิงหลักกฎหมายได้
ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ เมื่อใดเป็นเรื่องทางการเมืองมักพบปัญหาว่า ฝ่าย
การเมืองทั้งฝ่ายที่ถูกฟ้องหรือถูกกล่าวหา และฝ่ายที่เป็นฝ่ายกล่าวหาก็จะมีทั้ง
คนที่สนับสนุนและคนที่คัดค้านกระบวนการ ดังนั้น ปัญหานี้จึงเกิดขึ้นกับสังคม
ไทยในปัจจุบัน เมื่อสังคมการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ขั้ว ทำให้การทำงานของ
กระบวนการยุติธรรมอาจจะเกิดทั้งการพอใจและไม่พอใจได้เสมอ โดยเฉพาะ
บางครั้งเราอาจได้ยินคำว่าเลือกปฏิบัติ เล่นงานฝ่ายตรงข้ามขณะที่ฝ่ายเดียวกัน
อาจใช้เวลาในการตรวจสอบเป็นเรื่องปกติ ถ้าคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้ทำหน้าที่นี้ ก็คงต้องมีเหตุผลในการอธิบาย
3. ปัญหาเรื่องกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งกฎหมายจะต้องสะท้อน
ให้เห็นว่าได้เปิดโอกาสในเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้ถูก
กล่าวหาและที่สำคัญที่สุดคือ พยาน กระบวนการยุติธรรมของเราจะเห็นว่า
ผู้ถูกกล่าวหาเป็นคนที่มีสิทธิได้เยอะเหตุเพราะเป็นฝ่ายการเมือง แต่ผู้ที่มีปัญหา
ค่อนข้างมากในกระบวนการยุติธรรม คือคนที่ไปเป็นพยาน ไม่มีกระบวนการที่จะ
ทำให้คนเหล่านี้อยู่ได้อย่างปลอดภัย ทำให้พยานกลัว ประสิทธิภาพในการดำเนิน
คดีทุจริต คือ ความรวดเร็วและไม่มีข้อผิดพลาด ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นคณะ
กรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) คณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) หรือกระบวนการดำเนินการคดีทุจริตฝ่าย
การเมือง มีลักษณะทำงานแบบนิติกร กล่าวคือมีการทำงานเว้นเสาร์อาทิตย์
มิได้ทำงานอย่างองค์กรตำรวจ ทำให้คดีทุจริตเดินไปค่อนข้างยาก อีกทั้งการ
ขอเอกสาร การติดต่อขอให้พยานมาให้การ รวมถึงการนัดประชุมต่างๆ เป็น
การประชุมกลุมยอยที่ 5