Page 444 - kpi17968
P. 444
433
จากการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ การให้สินบน ปัจจุบันพัฒนาเป็นการทุจริตเชิง
นโยบาย มีผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้การดำเนินการกับนักการเมืองทำได้ยาก
เพราะรูปแบบการทุจริตแฝงมาในนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน โดยมี
นักการเมืองเป็นคนสั่งการ มีตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ การกระทำต่างๆ มีการ
วางแผนเตรียมการอย่างดี มีการตัดตอนไม่ให้พยานหลักฐานโยงใยไปถึง
นักการเมือง โดยนักการเมืองเองก็มีอำนาจอยู่ในมือและเป็นผู้มีอิทธิพล พยาน
ต่างเกรงกลัว ตัวอย่างคดีก่อนมีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
แห่งชาติ (ปปช.) ตั้งแต่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยจนถึงการปฏิวัติ
มีนักการเมืองที่ถูกศาลพิพากษาลงโทษ จำคุกมีเพียงคดีเดียว การทำงานต้องทำ
ตามระเบียบกฎหมาย หากล่าช้าก็ถูกทำลาย หากทำงานไม่รอบคอบเมื่อคดีไปถึง
ศาลก็ถูกยกฟ้อง เปรียบเสมือนการฟอกขาวให้บุคคลนั้นไป
ในการปฏิรูปการเมืองปี 2540 กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ขึ้นมา โดยมีมาตรการดำเนินคดีกับ
นักการเมืองตั้งแต่เริ่มต้น ตั้งแต่การกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองต้อง
ยืนบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินแล้วคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เข้าไปตรวจสอบความถูกต้องและความมีอยู่จริง
ความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินและหนี้สิน มีการตรวจสอบการกระทำที่เป็นการ
ขัดกันแห่งผลประโยชน์ มาตรการนี้เป็นมาตรการในเชิงป้องกันแต่หากฝ่าฝืนก็จะ
มีโทษ และมีการร้องขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติ
ซึ่งเป็นมาตรการด้านการปราบปราม เพราะวัตถุประสงค์ของการทุจริตคือเรื่อง
ของการต้องการเงินเป็นหลัก เราต้องใช้มาตรการนี้ไปดำเนินการ ส่วนมาตรการ
ถอดถอนออกจากตำแหน่งเป็นมาตรการทางวินัย เพราะบางคดีอาจหาพยาน
หลักฐานที่จะดำเนินคดีอาญาไม่ได้ แต่กฎหมายใช้คำว่าพฤติการณ์ส่อไปในทาง
ทุจริต และมาตรการการดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ศาล
แผนกคดีอาญาตัดสินไปศาลเดียว
สำหรับนักการเมืองที่มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
เป็นกรณีที่มีกฎหมายกำหนดไว้แล้วหรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม
การทุจริตแห่งชาติกำหนดขึ้นเอง ซึ่งขณะนี้มีการกำหนดให้นักการเมืองระดับ
การประชุมกลุมยอยที่ 5