Page 495 - kpi17968
P. 495

484




               จิตสำนึกดี 2) พฤติกรรมที่เป็นอกุศล คือพฤติกรรมที่นำไปสู่ความชั่วไม่ดีไม่งาม

               ความไม่ถูกต้องทั้งหลาย กล่าวคือ บุคคลผู้รู้ชั่ว คิดชั่ว จิตสำนึกชั่ว ซึ่งพฤติกรรม
               ทั้ง 2 ลักษณะนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง


                     พฤติกรรมของผู้ใช้อำนาจรัฐ และพฤติกรรมที่เป็นกุศล เพราะผู้ใช้อำนาจ
               รัฐคือผู้ใช้กฎหมาย และผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องประกอบไปด้วยธรรม และความรู้
               ความคิด จิตสำนึกก็ถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญในการนำมาประกอบเพื่อการตัดสินใจ

               ในการใช้อำนาจรัฐ เช่น ใช้อำนาจรัฐอย่างไรจึงจะเป็นธรรม ใช้อำนาจรัฐอย่างไร
               จึงไม่ทำลายหลักนิติรัฐนิติธรรมเหล่านี้ เป็นต้น ซึ่งการใช้อำนาจรัฐบนพื้นฐานของ

               ความถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของนักปกครอง

                     ผู้ใช้อำนาจรัฐจำเป็นที่จะต้องมีหลักในการปฏิบัติตนต่อภารกิจของตนในทุก

               ระดับ และเพื่อที่จะรักษาหลักการเอาไว้ผู้ใช้อำนาจรัฐเหล่านั้นก็จะต้องมีธรรม
               ซึ่งธรรมนี้แหละถือว่าเป็นเครื่องมือชั้นเลิศเพื่อรักษาความเที่ยงตรงของผู้ใช้อำนาจ
               รัฐอย่างแท้จริง ทั้งในระดับปัจเจกชน สังคม องค์การระหว่างประเทศ โดยธรรม
               เหล่านี้จะมีอยู่ทั่วไป


                     เช่น หลักอคติ คือ การลำเอียง มิจฉาทิฏฐิ คือ การคิดหลงผิด หรือ
               ตัณหา ทิฏฐิ มานะ ซึ่งรวมเรียกว่า (ปปัญจธรรม) คือการยึดติดยึดมั่นในความคิด

               ของตนว่าถูกกว่าหรือดีกว่าผู้อื่นซึ่งธรรมเหล่านี้เมื่อสรุปรวมแล้วก็จะมีแต่ความโกรธ
               ความโลภ ความหลง ความถือตัว ความอยาก ความไม่รู้จริง ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถ

               ที่จะทำให้บุคคลหลงผิดได้ตลอดเวลา ดังที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวว่า

                              “ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มีปกติ

                        ประพฤติประมาทเขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรตัว
                        ปรารถนาผลไม้อยู่โลดไปในป่าฉะนั้น ตัณหานั้นเป็นธรรมชาติ
                        ลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำ

                        บุคคลได้ ความโศกทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น เหมือน
                        หญ้าคมบางอันฝนตกรดแล้วเจริญอยู่ฉะนั้น แต่ผู้ใดย่อมย่ำยี
                        ตัณหานั้นซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้

                        ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้นเหมือนหยาดน้ำตกไป





                    บทความที่ผานการพิจารณา
   490   491   492   493   494   495   496   497   498   499   500