Page 500 - kpi17968
P. 500

489




                         สังคมที่ถือว่าเป็นตัวอย่างของการปกครองด้วยการยึดถือธรรมเป็นใหญ่ คือ

                   ในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ซึ่งเป็นจักรพรรดิที่ประเสริฐ
                   องค์หนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ทรงเปลี่ยนการเอาชนะด้วยการรบฆ่าฟัน มาใช้วิธี
                   ธรรมวิชัย คือ หันมาเอาชนะด้วยการประกาศธรรมแทน พระองค์ทรงเอาธรรมะ

                   เป็นเครื่องมือในการปกครอง พระองค์ทรงปฏิบัติพระองค์เองเป็นตัวอย่างของ
                   ผู้ทรงธรรม และทรงใช้อุปกรณ์การบริหารบ้านเมืองทั้งหมด เป็นเครื่องช่วย
                   ในการส่งเสริมศีลธรรมของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ได้ทรงจารึกข้อความแนะนำ

                   ตักเตือนประชาชนให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ชอบ ที่เสาศิลาเป็นจำนวนมาก ซึ่ง
                   เสาศิลาจารึกดังกล่าวเป็นหลักฐานที่ประกาศให้โลกรู้ถึงพระปณิธานของพระองค์
                   และได้ทราบถึงมาตรการต่างๆ ที่พระองค์ทรงได้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของ

                   บรรดาประชาราษฎร์ จึงกล่าวได้ว่า สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นยุคทองยุคหนึ่ง
                   ที่มีการปกครองใกล้เคียงกับธรรมาธิปไตยมากที่สุด”
                                                                3

                         พระแก่นจันทร์ สุจิตฺโต (สีพันนา) ได้กล่าวเอาไว้ในวิทยานิพนธ์เรื่อง
                   “ศึกษาเชิงวิเคราะห์รัฐศาสตร์แนวพุทธในมิติทศพิธราชธรรม” ผลการวิจัยว่า
                   “พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในท่ามกลางของการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน รวมถึง

                   ด้านการเมืองก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในสมัยพุทธกาล สภาพทางการ
                   เมืองในสมัยพุทธกาลนั้นแคว้นต่างๆ กำลังขยายดินแดนสู้รบกันเพื่อจะให้ประเทศ
                   ของตนเป็นประเทศที่มีอาณาเขตที่กว้างใหญ่และเป็นมหาอำนาจเหนือรัฐอื่นๆ

                   แคว้นไหนที่มีอำนาจมาก็จะรวบรวมเอาแคว้นอื่นๆ ที่มีกำลังน้อยเข้ามาอยู่ใน
                   อาณาจักรของตน โดยเฉพาะแคว้นที่มีการปกครองต่างระบบกัน คือระบบ
                   สามัคคีธรรม กับระบบราชาธิปไตย ซึ่งมักจะต่อสู้แย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่กัน

                   เสมอๆ

                         พระพุทธองค์ทรงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งสองระบบแต่การเข้าไป

                   เกี่ยวข้องของพระองค์นั้นอย่างที่กล่าวแล้วในตอนต้นว่า พระองค์ทรงเข้าไป
                   เกี่ยวข้องในฐานะเป็นครู ทรงเข้าไปในฐานะผู้ดับทุกข์ หรือเป็นผู้แก้ปัญหา ฐานะ


                       3   พระมหาธรรมรัต อริยธมฺโม (ยศขุน), “การศึกษาเชิงวิเคราะห์หลักรัฐศาสตร์ใน
                   พระไตรปิฎก”, วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหา
                   มกุฏราชวิทยาลัย, 2552), บทคัดย่อ.





                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   495   496   497   498   499   500   501   502   503   504   505