Page 497 - kpi17968
P. 497

486




               ของรัฐยังไม่สามารถทำให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าใจและได้เข้าถึงระบอบ

               ประชาธิปไตยดีพอ


                     ดังนั้น การที่ภาครัฐจะทำให้บุคคลได้เข้าใจระบอบประชาธิปไตยอย่างครบ
               วงจรหรือเต็มรูปแบบได้นั้น ภาครัฐก็ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่จะก่อให้เกิด
               การเรียนรู้อย่างถูกต้อง เช่น การใช้สิทธิของพลเมืองหรือในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
               กับระบอบประชาธิปไตย หรือเรื่องการตรวจสอบพฤติกรรมนักการเมือง เหล่านี้

               เป็นต้น เพื่อที่จะได้เข้าใจในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งแน่นอนว่า
               มันไม่ใช่แค่การเลือกตั้งอย่างเดียว ที่พอรู้ผลว่าใครแพ้ใครชนะแล้วก็จบ แต่ดู

               เหมือนว่าสังคมประชาธิปไตยของไทยตลอดที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับ
               ประชาธิปไตยเพียงแค่การเลือกตั้งอย่างเดียว


                     เปรียบเสมือนการต่อจิกซอว์ ประชาธิปไตยมันจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ อีกมาก
               ที่จะต่อรวมกันจนกลายเป็นรูปจิกซอว์ประชาธิปไตย ซึ่งแน่นอนมันไม่ใช่แค่การ
               เลือกตั้งอย่างเดียวดังที่กล่าวมา โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของ
               พลเมืองจะมีใครเข้าใจในความหมายมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงทุกคน

               ที่เป็นคนไทยที่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย และไม่ว่าคุณจะทำหน้าที่ในฐานะ
               ตำแหน่งใดก็ตาม และไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ปกครองหรือผู้ใต้ปกครองก็ตาม สิทธิ

               เสรีภาพและหน้าที่พลเมืองในทางกฎหมายย่อมเท่าเทียมกัน นี้คือหลักของ
               นิติธรรม


                     นั่นหมายความว่า ถ้าคุณไม่ทำผิดกฎหมายคุณก็สามารถที่ใช้ชีวิตตามปกติ
               ได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณทำผิดกฎหมายคุณละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น คุณก็
               ต้องรับโทษตามฐานะที่คุณทำผิด ซึ่งแน่นอนจะต้องไม่มีการยกเว้น ไม่ว่าคุณจะมี
               ฐานะทางสังคมสูงศักดิ์เพียงใดก็ตาม หรือมีฐานะที่ร่ำรวยแค่ไหนก็ตาม แต่ตลอด

               ระยะเวลาที่ผ่านมาไม่ใช่อย่างนั้น กฎหมายไทยใช้ได้แต่บุคคลที่ไม่มีทางสู้คือ
               คนจน คนไม่มีเงิน คนไม่มีอำนาจ จนมีคนส่วนหนึ่งพูดว่า “กฎหมายไทยใช้จับ
               แต่ปลาซิวปลาสร้อยเท่านั้น” หรือที่เราได้ยินกันบ่อยที่ว่า “เจ้าหน้าที่เลือก

               ปฏิบัติ” ดังนั้นปัญหาของกฎหมายไทย คือการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
               ซึ่งส่วนหนึ่งมีผลมาจากการลำเอียงหรือการเข้าข้าง







                    บทความที่ผานการพิจารณา
   492   493   494   495   496   497   498   499   500   501   502