Page 579 - kpi17968
P. 579
568
พลเมืองในการเคลื่อนไหวต่อสู้คัดค้านโครงการพัฒนาของรัฐที่สะท้อนถึงลักษณะ
ของ “double bind” ที่ว่าความยุติธรรมในสิทธิชุมชนที่เคยอยู่ต่ำกว่ากฎหมาย
ที่หน่วยงานรัฐใช้จัดการกับประชาชน ได้กลับมาอยู่เหนือกฎหมายอีกครั้ง ซึ่งการ
ที่ความยุติธรรมจะอยู่เหนือกฎหมายในทางปฏิบัติได้นั้น จะต้องมาจากการ
เคลื่อนไหวของประชาชนที่เข้าใจและใช้ประโยชน์จากกฎหมายได้อย่างเป็น
รูปธรรมและมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ กระบวนการเคลื่อนไหวของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-
บางสะพานยังก้าวไปไกลกว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ จากการที่เข้าไปมีส่วนร่วม
ของชาวบ้านในแผนพัฒนาจังหวัด ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิในการกำหนดชะตากรรม
ตนเอง (Right to Self Determination) ที่กำหนดไว้ในมาตรา 1 แห่งกติกา
ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966
ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีแล้วนั้น ปรากฏว่ายังไม่ได้กำหนดไว้เป็นลาย
7
ลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ แต่ชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพาน
สามารถเคลื่อนไหวโดยใช้สิทธิชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรมล้ำหน้ารัฐธรรมนูญ
ที่บังคับใช้ในขณะนั้น (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550)
แนวทางการศึกษารูปแบบนิติสำนึก 3 ประการผ่านตัวอย่างการเคลื่อนไหว
ต่อสู้คัดค้านของชาวบ้านกลุ่ม อนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพานดังกล่าวมาแล้ว
ทั้งหมดนอกจากจะเห็นพัฒนาการในการต่อสู้จากโครงการโรงไฟฟ้าสู่โครงการ
นิคมอุตสาหกรรมเหล็กโดยมีการใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรม
แล้ว ยังนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ว่าความยุติธรรมในสิทธิชุมชนจะเกิดขึ้นจริงและเป็น
รูปธรรมได้นั้น จะต้องมาจากนิติสำนึกของชาวบ้านในฐานะพลเมืองที่ถือหลักนิติ
รัฐและมีศักยภาพในการนำกฎหมายมาใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อน ได้แก่
การนำรัฐธรรมนูญมาใช้ให้เป็นรูปธรรม และการใช้สิทธิในการกำหนดเจตจำนง
ของตนเองโดยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อชุมชนตนเอง
7 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน https://treaties.un.org/Pages/ViewDetails.aspx?src=
TREATY&mtdsg_no=IV-4&chapter=4&lang=en.
บทความที่ผานการพิจารณา