Page 578 - kpi17968
P. 578

567




                   ถูกนำมากล่าวอ้างโดยเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนยอมจำนนต่อความ

                   มั่นคงในนิติฐานะของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อเป้าประสงค์ของรัฐ  เสมือนว่า
                   การปฏิบัติตามนโยบายของรัฐก็คือการปฏิบัติตามกฎหมาย และเจ้าหน้าที่รัฐก็มัก
                   จะบอกกับชาวบ้านในชุมชนว่าการออกใบอนุญาตจัดตั้งโครงการเป็นไปตาม

                   กฎหมายทุกประการ  การนำกฎหมายมาใช้ในทางปฏิบัติโดยผู้มีอำนาจทาง
                   กฎหมายจึงอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าความยุติธรรมในสิทธิชุมชน ซึ่งเมื่อนำกรอบ
                   แนวคิดการรื้อสร้างมาอธิบาย คู่ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรม

                   ในชั้นแรกจะเห็นว่ากฎหมายที่รัฐนำมาใช้กับประชาชนอยู่เหนือกว่าความยุติธรรม
                   ในสิทธิชุมชน ซึ่งในความเป็นจริง ควรที่จะได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ
                   เช่นเดียวกับที่รัฐธรรมนูญรับรองเอาไว้ อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหวเรียกร้องความ

                   ยุติธรรมของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพานได้ทำให้ความยุติธรรม
                   ในสิทธิชุมชนกลับมาอยู่เหนือกฎหมายที่รัฐนำมาอ้างในการบังคับใช้กับประชาชน
                   โดยพิจารณาจากนิติสำนึก 3 รูปแบบ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการยอมเชื่อฟังกฎหมายจาก

                   ความเชื่อที่ว่าทุกคนเสมอกันเบื้องหน้ากฎหมายโดยการใช้เสรีภาพในการชุมนุม
                   ยื่นข้อเรียกร้องไปยังหน่วยงานราชการต่างๆ และความพยายามในการใช้กฎหมาย
                   จากกรณีที่ศึกษารัฐธรรมนูญด้วยตนเอง การอ้างอิงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ

                   ในการต่อสู้คัดค้าน และแม้กระทั่งการต่อต้านกฎหมายของชาวบ้านในบาง
                   เหตุการณ์ เช่น การชุมนุมปิดถนนสี่แยกบ่อนอกเพื่อขอเจรจากับผู้มีอำนาจของรัฐ
                   ในการยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้า หรือคดีล้มโต๊ะจีน ทั้งหมดนี้ แม้ว่าจะเป็นการ

                   ดื้อแพ่งต่อกฎหมายหรือต่อต้านกฎหมาย แต่ชาวบ้านก็พร้อมที่จะยอมเป็นเหยื่อ
                   ให้ตนเองรับผลจากการกระทำที่เกิดขึ้นเพื่อชูให้เป็นประเด็นสาธารณะ โดยไม่ได้
                   หลบหนีบทลงโทษทางกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการต่อสู้ที่ยังคงอยู่ใน

                   กระบวนการทางกฎหมาย

                         นิติสำนึกของชาวบ้านกลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพานในการใช้

                   กฎหมายเป็นเครื่องมือเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม ทำให้ความยุติธรรมกลับมาอยู่
                   เหนือกฎหมาย ซึ่งก็คือลักษณะของ “double bind” ของคู่ความสัมพันธ์ระหว่าง
                   กฎหมายกับความยุติธรรม กล่าวคือนิติสำนึกว่าด้วยความยุติธรรมของชาวบ้าน

                   กลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด-บางสะพานโดยการอ้างอิงรัฐธรรมนูญเป็นการใช้สิทธิ







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   573   574   575   576   577   578   579   580   581   582   583