Page 585 - kpi17968
P. 585

574




               พุทธศักราช 2550 (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552) ซึ่งเคยเป็น

               กฎหมายสูงสุดของประเทศไทยไว้ เช่น ความเสมอภาคกันตามกฎหมายและ
               การไม่เลือกปฏิบัติ (มาตรา 30) หลักการสันนิษฐานว่าบุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์
               (มาตรา 39) หลักการที่ว่าบุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ ได้กระทำการอัน

               กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้(มาตรา 39) สิทธิเข้าถึง
               กระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็วและทั่วถึง (มาตรา 40(1))
               สิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม

               (มาตรา 40(1)) การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องสำคัญต่างๆ
               (มาตรา 58) หลักความเป็นอิสระของตุลาการ (มาตรา 197) เป็นต้น


                     พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ซึ่งสำเร็จการศึกษาระดับ
               ปริญญาเอกทางกฎหมายโดยตรงจาก Cornell University ก็ทรงตระหนักถึงความ
               สำคัญของหลักนิติธรรมด้วยเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากทรงมีพระราชดำรัส

               ในการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติ ว่าด้วยหลักนิติธรรมในระดับ
               ประเทศและระหว่างประเทศ ของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 67
               ความว่า “สำหรับประเทศไทย หลักนิติธรรม เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานที่จะนำมาซึ่ง

               ความสงบสุข ความมั่งคั่ง และสันติสุขของโลก เนื่องจากเป็นกรอบการทำงาน
               สำคัญสังคมของเราทั้งภายในและภายนอกประเทศ” (อรรถพล ใหญ่สว่าง,
               2556) Plato นักปราชญ์ชาวกรีก ได้เสนอว่า “กฎหมายเป็นสิ่งสูงสุด และ

               การปกครองจะต้องดำเนินตามกฎหมาย หากสังคมสามารถสร้างระบบกฎหมายที่
               ดีและเป็นธรรมขึ้นมาให้คนประพฤติปฏิบัติตามได้ แม้แต่คนชั่วก็ยังอาจจะมีทาง
               ทำความดีขึ้นมาได้เช่นกัน” (ปรีดี เกษมทรัพย์, 2548) ฉะนั้นการพัฒนา

               หลักนิติธรรมจะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตยที่ยั่งยืนมีคุณูปการต่อการพัฒนา
               เศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของประเทศ ซึ่งหลักการดังกล่าวสอดคล้องกับ
               ปณิธานของศาลรัฐธรรมนูญ (สมลักษณ์ จัดกระบวนพล, 2555) ที่ว่า “ยึดหลัก

               นิติธรรม ค้ำจุนประชาธิปไตย ห่วงใยสิทธิและเสรีภาพของประชาชน” และ
               สอดคล้องกับนโยบายสร้างความปรองดองของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย


                     ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของหลักนิติธรรมที่ได้เคยถูกบัญญัติไว้โดย
               ชัดเจนในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จะเห็นได้ว่า หลักนิติธรรม






                    บทความที่ผานการพิจารณา
   580   581   582   583   584   585   586   587   588   589   590