Page 588 - kpi17968
P. 588
577
สำหรับการสอนเรื่องของการเมืองที่จะให้เชื่อมโยงกับการศึกษานั้น ควรจะ
ต้องมีลักษณะที่แตกต่างไปจากการสอนเนื้อหาสาระในวิชาปกติโดยทั่วไป วิชัย
ตันศิริ (2557) ให้ความเห็นว่าการสอนเรื่องนี้ยังไม่ควรที่จะไปสอนเรื่อง
รัฐธรรมนูญโดยตรง แต่ควรจะสอนประเด็นเรื่องการเมือง ให้ความรู้ทางการเมือง
เป็นเบื้องต้นเสียก่อน นั่นคือ แนวทางการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองในสังคมไทย
อาจพิจารณาจัดแบ่งได้ 2 ลักษณะ ลักษณะหนึ่งก็คือการให้ความรู้ที่เป็นสาระ
สำคัญของสังคมประชาธิปไตยว่ามีหลักการอย่างไรบ้าง และผู้ที่จะอยู่ในสังคม
ประชาธิปไตยนั้น ควรจะมีส่วนร่วมและร่วมมือกับผู้อื่นได้อย่างไร องค์กรและ
สถาบันต่างๆ ในระบอบประชาธิปไตยมีอะไรบ้าง อย่างไรก็ตามการสอนยังควร
ต้องพิจารณาถึงเรื่องปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับระดับการศึกษาด้วยว่า ระดับ
การศึกษาไหนควรจะเน้นสอนเรื่องอะไร ไม่ควรเน้นสอนเรื่องอะไร นั่นคือควรต้อง
สอนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหลักของประชาธิปไตยที่จะค่อนข้างเป็นพื้นฐานเสียก่อน
เช่นเรื่องของความยุติธรรมนั้น ควรต้องสอนได้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา
ถึงมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ทั้งนี้เพราะความยุติธรรมเป็นสิ่งที่เด็กๆ
ไขว่คว้าแสวงหาตลอดเวลา ส่วนสิทธิหน้าที่และเสรีภาพจะเป็นสิ่งที่พวกเขาอยาก
จะรู้ และครูผู้สอนก็ควรต้องสอนสิ่งเหล่านี้ไว้ในลักษณะเป็นพื้นฐานเสียก่อน
ก่อนที่สอนถึงเรื่องหลักของประชาธิปไตยภายหลังในชั้นเรียนที่สูงขึ้น
ส่วนความรู้อีกลักษณะด้านหนึ่งนั้น เป็นเรื่องของการสร้างอุปนิสัยและ
ทักษะที่จำเป็นสำหรับพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยเพื่อต้องการพลเมืองที่เป็น
สาธารณชนที่รับรู้ข้อมูลข่าวสารในระบอบประชาธิปไตย เพื่อที่จะสร้างสมรรถนะ
ให้บุคคลสามารถทำหน้าที่ของพลเมืองได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ใช่เป็นเพียงผู้ถูกกระทำ
หรือเป็นผู้ใช้สิทธิ์ในบางครั้งบางคราวเท่านั้น การจะมีส่วนร่วมทางการเมืองได้นั้น
บุคคลก็จะต้องรับรู้และติดตามการเคลื่อนไหวทางการเมือง มีความรู้เกี่ยวกับ
กระบวนการนิติบัญญัติ มีความรู้เกี่ยวกับการทำงานของพรรคการเมือง ติดตาม
การเคลื่อนไหวของผู้แทนราษฎร ติดตามการเคลื่อนไหวของพรรคการเมือง
สามารถเข้าใจและวิจารณ์ให้ความเห็นเกี่ยวกับนโยบายของพรรคการเมือง และ
สามารถจะเปรียบเทียบนโยบายพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีอยู่ในสังคม
ประชาธิปไตยได้ ซึ่งความรู้ส่วนหลังนี้น่าจะมีความสำคัญกว่าความรู้ส่วนแรก
บทความที่ผานการพิจารณา