Page 589 - kpi17968
P. 589

578




               เพราะว่าเป็นทักษะหรือความรู้ที่ทำให้บุคคลผู้นั้นสามารถจะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

               ต่อไป และที่สำคัญที่สุด ก็คือ ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นทักษะหรือความรู้ที่ทำให้
               บุคคลผู้นั้นสามารถสนับสนุนการสร้างหลักนิติธรรมที่จะควบคุมการออกกฏหมาย
               หรือแก้กฏหมายให้มีความชอบธรรมในสังคมไทยได้ต่อไป


                     สำหรับในประเทศไทยนั้น  ความรู้ประเภทแรก คือ ประชาธิปไตยคืออะไร
               เป็นอย่างไร องค์กรนิติบัญญัติเป็นอย่างไร บริหารเป็นอย่างไร ตุลาการเป็น

               อย่างไรนั้น น่าจะมีการสอนค่อนข้างจะมากอยู่แล้ว แต่ความรู้ประเภทหลัง หรือ
               ทักษะที่จะสร้างพลเมืองให้เป็นผู้ที่รู้จักเลือกข้อมูลข่าวสาร รู้จักที่จะกลั่นกรอง

               รู้จักที่จะใช้วิจารณญาณ มีความสามารถที่จะเข้าใจ เปรียบเทียบ แสดงความ
               คิดเห็นได้ยังมีน้อยมาก (วิชัย ตันศิริ, 2557) ความรู้ประการหลังเป็นความรู้ที่อยู่
               ในลักษณะที่ไม่ต้องการการชี้นำ หรือไม่ต้องการการเรียนในลักษณะบอกเล่าหรือ
               แบบบรรยายในชั้นเรียน เพราะฉะนั้นผู้เขียนจึงเห็นว่าการศึกษาจำเป็นต้องมีการ

               ปรับปรุงและพัฒนาวิธีการเรียนการสอน และแนวทางของการให้การศึกษา
               เพื่อสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยแบบไทยๆ จึงควรเน้นให้ความสนใจ
               มุ่งพัฒนาวิธีการเรียนการสอนให้มากขึ้น โดยเฉพาะการเรียนการสอนที่สร้าง

               เสริมอุปนิสัยของการเป็นพลเมืองดี และการนำเอาเรื่องทักษะความคิดเข้าไปสอน
               ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆให้เพิ่มขึ้น โดยอาจจัดให้อยู่ในหลักสูตร
               การเรียนการสอนในรูปแบบในลักษณะของการเป็นวิชาบังคับ หรือเป็นวิชาเลือก

               ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกวิธีคิดและสร้างอุปนิสัยการเป็นพลเมืองที่ดีให้
               มากขึ้น


                     การสร้างอุปนิสัยการเป็นพลเมืองที่ดี และการสร้างทักษะการคิดเป็น
               สิ่งสำคัญที่สุด ถ้าไม่มีวิธีการคิดและไม่รู้จักคิดแล้ว ผู้คนในระบอบประชาธิปไตย
               ก็จะกลายเป็นผู้ถูกกระทำอย่างเดียว แต่ประชาธิปไตยนั้นหมายถึงทุกคนเป็น

               พลเมืองที่ต้องทั้งเป็นผู้กระทำ และเป็นผู้มีส่วนร่วมด้วย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทย
               เราก็พยายามนำการศึกษามาส่งเสริมให้คนสามารถอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้
               โดยพยายามจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย ให้อิสระเสรีภาพ

               ในการแสดงความคิดเห็น แต่ปรากฏว่าสภาพความเป็นจริงของการจัดการศึกษา
               ในระบบโรงเรียน ก็ยังไม่ได้ส่งเสริมให้เด็กมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น






                    บทความที่ผานการพิจารณา
   584   585   586   587   588   589   590   591   592   593   594