Page 587 - kpi17968
P. 587

576




               คุณธรรมและจริยธรรมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

               สามารถสนองตอบทิศทางในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติ
               ซึ่งประเทศที่ต้องการความก้าวหน้าต่างก็ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยอาศัย
               การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญ (http://ton.igetweb.com/?mo=3&art=499031)

               ดังนั้นการศึกษาจึงควรเป็นเครื่องมือสร้างพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างดี

               การ  ก า ย า ไร     ะ ป นไป      นับ น นการ ร า หลักนิติธรรม  ละ

                ร า  ล ม    น ั  มประชาธิปไตย บบไ ย  ไ   ย า  หมาะ ม



                     ประชาธิปไตย เป็นคุณธรรมหรือเป็นวิถีชีวิต ที่ต้องสร้างขึ้น ไม่ได้เกิดขึ้น
               โดยธรรมชาติ(วิชัย ตันศิริ, 2557) และการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง ก็เป็นการนำ
               เอาการเมืองกับการศึกษามาเชื่อมโยงกัน ซึ่งโดยปกติแล้วกิจกรรม 2 ด้านนี้ก็มี

               อยู่แล้วในสังคมทุกสังคม แต่ยังหาจุดเชื่อมโยงค่อนข้างยาก โดยเฉพาะสำหรับ
               เมืองไทยยังถือเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ การเมืองในสังคมไทยก็มักถือเป็นกิจกรรม
               ที่แยกออกไปต่างหาก ดังนั้นการเมืองกับการศึกษา หรือการศึกษาเกี่ยวกับ

               การเมือง มักไม่ได้รับการสนใจที่จะนำเอามาสอนไม่ว่าจะเป็นเด็กวัยเรียน หรือ
               ไม่ว่าจะเป็นการจัดการสอนสำหรับพลเมืองโดยทั่วไป (ชัยอนันต์ สมุทวณิช,
               2557) ทั้งนี้การศึกษาจึงมักจะจำกัดวงอยู่เฉพาะคนในสังคมที่มีช่วงอายุช่วงหนึ่งที่
               อยู่ในวัยเรียนเท่านั้น ซึ่งถือเป็นการ ศึกษาในระบบโรงเรียนนั่นเอง แต่การศึกษา

               โดยทั่วไปสำหรับประชาชนที่อยู่นอกวัยเรียนที่เรียกว่าการศึกษาตลอดชีวิต
               อาจเป็นการศึกษาที่ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระความรู้แบบที่เรียนในช่วงวัยเรียนซึ่ง

               มีอยู่ในสังคม ไทยจำนวนมากนั้นมักไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งผู้เขียน
               เห็นว่าการพิจารณาส่งเสริมนำเอาระบบของการศึกษาที่ไม่เป็นทางการ (Non-
               Formal Education) ของกรมการศึกษานอกโรงเรียนเข้ามาเป็นเครื่องมือ
               ช่วยเสริมเพื่อแก้ปัญหาก็ถือเป็นแนวทางสำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ ชัยอนันต์

               สมุทวณิช (2557) ก็เห็นว่าการจัดการศึกษาในระบบของเราก็ยังมุ่งเฉพาะในเรื่อง
               ของหลักสูตรและเรื่องวิธีการสอนเฉพาะในแง่ของเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนจะต้อง

               เรียนรู้เท่านั้น









                    บทความที่ผานการพิจารณา
   582   583   584   585   586   587   588   589   590   591   592