Page 630 - kpi17968
P. 630

619




                   โทษานุโทษที่กฎหมายกำหนดอันเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน บทมาตราเดียวกัน

                   ทำให้เกิดลักลั่น เช่น บางครั้งผู้ค้ายาเสพติดซึ่งมีประวัติเป็นผู้ค้ารายใหญ่แต่ใน
                   การจับกุมยึดยาเสพติดได้เป็นของกลางจำนวนไม่มาก ศาลจึงลงโทษอย่างผู้ค้ายา
                   เสพติดรายย่อย แต่บางคดีพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวน ลักษณะของการ

                   กระทำผิดผู้กระทำน่าจะเป็นเพียงผู้ค้ารายย่อย แต่ในการจับกุมยึดได้ยาเสพติด
                   ของกลางเป็นจำนวนมาก กฎหมายยาเสพติดของไทยไม่ได้แบ่งผู้ค้ายาเสพติด
                   เป็นผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่หรือรายย่อยให้ ไม่ได้กำหนดโทษให้เหมาะสมกับ

                   การกระทำแต่ละอย่างให้ชัดเจน จึงไม่เปิดช่องให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่จะใช้
                   ดุลยพินิจได้เป็นอย่างอื่น ผลตามมาคือผู้ค้ายาเสพติดรายรายใหญ่และผู้ค้า
                   ยาเสพติดรายย่อยรับโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายมาตราเดียวกัน ผู้พิพากษา

                   ทุกท่านไม่ประสงค์ที่จะส่งผู้กระทำผิดคดียาเสพติดซึ่งจัดเข้าอยู่ในกลุ่มผู้ค้ายา
                   เสพติดรายย่อยเข้าคุมขังในเรือนจำ เป็นการเพิ่มจำนวนจนเกิดปัญหานักโทษ
                   ล้นคุก แต่เนื่องจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือพระราชบัญญัติยาเสพติดที่ใช้อยู่

                   ปัจจุบันเป็นกฎหมายที่ได้ใช้กันมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 จนถึงขณะนี้เป็น
                   เวลากว่า 35 ปีแล้วมิได้รับการสังคายนา คงมีแต่การแก้ไขปรับปรุงเล็กๆ น้อยๆ
                   ในทางตรงกันข้าม ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยาเสพติดในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปทั้งเรื่อง

                   ของตัวยาเช่นเป็นสารที่สกัดจากธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้นทางเคมีในห้องปฏิบัติ
                   การ ประเภทและชนิดของยาเสพติดซึ่งออกฤทธิ์ร้ายแรงแตกต่างกัน พฤติกรรม
                   ของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดเช่นเป็นผู้ค้าในลักษณะขบวนการ หรือเพียงคนเดิน

                   ยา เพศหรืออายุของผู้กระทำผิด เช่น หญิงมีครรภ์ หรือเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ เข้ามา
                   เกี่ยวข้องกับยาเสพติดมากขึ้น ประกอบกับนโยบายป้องปรามยาเสพติดของโลก
                   มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากเดิมและใช้กันเป็นสากล การที่ประเทศไทยเรายัง

                   คงใช้กฎหมายยาเสพติดฉบับเดิมศาลวางโทษอย่างเดิมๆ อาจเป็นการไม่ทันสมัย
                   และเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ถูกจุดนโยบายจัดการกับยาเสพติดของไทยประสงค์ที่
                   จะให้คดียาเสพติดสิ้นสุดลงในระดับชั้นศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพ

                   ติดเองตระหนักในข้อนี้จึงได้จัดให้มีการประชุม พัฒนาแนวทางภายในแผนกฯ
                   เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคม แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายใต้บทบัญญัติของ
                   กฎหมาย ประธานแผนกคดียาเสพติดในศาลอุทธรณ์ท่านปัจจุบัน ได้แก่
                   ท่านสันต์ชัย ล้อมณีนพรัตน์ สนับสนุนให้มีการปรับปรุงบัญชีอัตราโทษคดียา







                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   625   626   627   628   629   630   631   632   633   634   635