Page 111 - kpi18886
P. 111

103




                         หลังจากเดือนเมษายน ค.ศ. 1974 ที่มีการรัฐประหารก็เริ่มมีการถามกันว่า

                   ทางเลือกของนโยบายต่างประเทศควรจะเป็นอย่างไร โปรตุเกสเริ่มกระบวนการ
                   ปรับเป็นประชาธิปไตยในเชิงสถาบันต่างๆ ซึ่งใช้เวลา 2 ปี กว่าที่จะมีรัฐบาล
                   เลือกตั้ง โดยได้รับการเลือกตั้งขึ้นมาใน ค.ศ. 1976 หลังจากเปลี่ยนผ่านอยู่ 2 ปี

                   แต่ก็ยังไม่ชัดเจนเรื่องนโยบายภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งมีการให้ความ
                   สำคัญอยู่ 3 ช่วง คือ เรื่องของการปกครองที่จะจัดตั้งขึ้นภายในประเทศ
                   การเข้าไปสู่การเป็นสมาชิกยุโรป ซึ่งด้านนโยบายต่างประเทศมีความเห็น

                   แตกต่างกันระหว่างฝ่ายพรรคการเมือง ศาสนจักร และบ้างเห็นว่าประเทศ
                   จะอยู่ยากให้โดดเดี่ยวไปเลย แต่บางส่วนเห็นว่าควรเข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่มี
                   พรรคคอมมิวนิสต์ นอกจากนั้นก็ยังมีการเน้นในเรื่องของความสัมพันธ์ข้าม

                   มหาสมุทรแอตแลนติคกับบราซิล ระหว่าง ค.ศ. 1974-1976 สถานการณ์ค่อนข้าง
                   เปราะบางในโปรตุเกส ซึ่งทำให้ผู้นำได้มีการพูดคุยกัน รัฐบาลชั่วคราวชุดแรก
                   มีความตั้งใจที่จะผนึกกำลัง ผนึกความสัมพันธ์กับสหภาพยุโรป แต่รัฐบาลชั่วคราว

                   ชุดที่ 2 ซึ่งนำโดยทหาร ได้แต่งตั้งทหารเข้าสู่ตำแหน่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
                   แนวคิด โปรตุเกสมีรัฐบาลชั่วคราว 6 รัฐบาลในช่วง 3 ปี ส่วนใหญ่มีตำแหน่ง
                   และจุดยืนที่ค่อนข้างลังเลต่อสหภาพยุโรปและนอกจากนั้นก็เริ่มมีความสัมพันธ์กับ

                   โลกที่ 3

                         ในช่วงฤดูใบไม้ผลิใน ค.ศ. 1975 สถานการณ์การเมืองก็เลวร้ายลง

                   ในเดือนพฤศจิกายนก็มีรัฐประหารเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งแต่ล้มเหลว แต่ก่อนหน้านั้น
                   คณะกรรมการสหภาพยุโรปเสนอว่าความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจะต้องเป็นไป
                   สำหรับสหรัฐอเมริกาการที่จะมีพรรคคอมมิวนิสต์อยู่ในรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

                   รับไม่ได้และจะไม่เข้ามาแทรกแซงเรื่องภายในในโปรตุเกส สำหรับสหภาพยุโรป
                   ฝ่ายกลางก็จะมองแต่ในเรื่องของการที่จะพัฒนาระบบของรัฐสภาในระบอบ
                   ประชาธิปไตย ผู้นำในประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรประบุว่าการช่วยเหลือทาง

                   การเงินจะต้องมีเงื่อนไขกับโปรตุเกส ต้องให้ไปขับเคลื่อนไปสู่ประชาธิปไตยแบบ
                   พหุนิยม ดังนั้น การเป็นประชาธิปไตยของโปรตุเกส ความช่วยเหลือก็จะมาทั้ง
                   เศรษฐกิจและสังคม นั้นหมายความว่าการพัฒนาประชาธิปไตยมีความสำคัญยิ่ง

                   ต่อโปรตุเกสเหตุเพราะความประสงค์ของสหภาพยุโรป เพราะฉะนั้นจึงเหมือนกับ







                                                         การอภิปรายรวมระหวางผูแทนจากตางประเทศ
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116