Page 180 - kpi18886
P. 180
172
ประชาชนจะไม่จำเลขแต่จะจำชื่อของ สส.แทน เพราะกลัวว่าจะจำเลขสับสน
ดังนั้น ตัวบุคคลจึงมีบทบาทหนักขึ้น ในเรื่องของการนับคะแนน จะประกาศที่
95% และที่เหลือหากมีการได้ใบแดงใบเหลืองก็จะมีการเลือกตั้งใหม่อีก คะแนน
ในระบบเขตก็จะถูกนับใหม่ ทำให้คนใน party list ที่ได้ที่นั่งไปแล้วจากการ
คำนวณครั้งแรกก็มีสิทธิที่จะหลุดและมีสิทธิที่คนใหม่จะได้เข้ามา ทำให้ระบบ
party list ที่เป็นเหมือนตัวแทนของพรรค สามารถเปลี่ยนที่นั่งได้ตลอดเวลา ทำให้
พรรคดูอ่อนแอลงไปอีก การเลือกตั้งระดับเขตจึงเป็นสิ่งที่สำคัญขึ้นมา ทั้งหมดนี้
จะเห็นได้ว่า พรบ.พรรคการเมืองเน้นไปทางที่จะทำให้พรรคเข้มแข็ง ขณะที่
พรบ.การเลือกตั้งเน้นให้ตัวบุคคลเข้มแข็งมากกว่าพรรคการเมือง พอ 2 พรบ.
มารวมกันจึงมีความเป็นไปได้ยากมากที่จะได้นักการเมืองที่มีคุณภาพเข้ามาเป็น
ส่วนหนึ่งของพรรค และคงเป็นไปได้ยากที่จะได้เห็น สส.หน้าใหม่ หน้าใหม่นี้
หมายถึงใหม่จริงๆ ไม่ใช่ลูกหลาน หรือคนที่มีส่วนทางการเมืองมาก่อน เนื่องจาก
พรรคการเมืองที่จะมาใหม่ๆ ภายใต้กฎเกณฑ์การตั้งพรรคทั้งหมดก็อาจจะ
เป็นได้ยาก
ต่อคำถามที่ว่าการเลือกตั้งระบบพรรคการเมืองแบบใหม่จะทำให้มี
นักการเมืองที่มีคุณภาพเข้าสภามากขึ้นหรือไม่นั้น เห็นว่าระบบเลือกตั้งไม่ใช่
คำตอบ ควรเป็นพรรคการเมืองที่จะมีบทบาทสำคัญในการคัดคนดีเข้าสู่องค์กร
พรรคการเมืองเปรียบเสมือนโรงเรียน บางพรรคสร้างคนตั้งแต่อายุ 15 ให้เข้ามา
เป็น intern เป็นองค์กรที่สร้างคนให้รับรู้เรื่องดีๆ ว่าจะทำการเมืองให้เข้าถึง
ประชาชน ไม่ใช่เตรียมคนลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ประเทศไทยมีการ
เปลี่ยนระบบเลือกตั้งมาหลายครั้ง แต่จะเปลี่ยนระบบไปอย่างไรหากคนไม่พร้อม
ก็จะได้คนในลักษณะเดิม การโกงไม่หมดไปง่ายๆ การแทรกแซงให้ผิดเป็นถูก
ยิ่งทำให้ระบบที่สร้างขึ้นเป็นตัวตลก ไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้ ดังนั้น
พรรคการเมืองต้องได้รับความสนใจจากผู้ร่างหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา
นักการเมืองให้มากขึ้น มุ่งมั่นสร้างพรรคการเมืองให้แข็งแกร่ง เป็นโรงเรียนของ
นักการเมืองที่จะผลิตคนดีๆ ออกมาในอนาคต อย่างไรก็ดี เวลาที่ร่างรัฐธรรมนูญ
เรามักมองพรรคการเมืองในลักษณะเป็นพรรคมวลชน-mass based party ซึ่งใน
ช่วง 20 ปีที่ผ่านมานี้งานด้านรัฐศาสตร์ใหม่ๆ พรรคการเมืองแบบมวลชนแทบจะ
ไม่มีให้เห็นในโลกแล้ว ลองดูนักการเมืองรุ่นใหม่ เช่น มาครง ของฝรั่งเศส หรือ
การประชุมกลุมยอยที่ 1