Page 175 - kpi18886
P. 175
167
1) ต้องศึกษาประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม EHIA
2) ต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย
สิ่งเหล่านี้ต้องดำเนินการก่อน ซึ่งต้องการให้การพัฒนาเกิดความยั่งยืน
ต้องการให้ภาคประชาชนมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายสาธารณะ ทั้งตัว
นโยบาย ทั้งตัวแผนงาน ทั้งตัวโครงการ รัฐธรรมนูญกำหนดเพิ่มเติมอีกในมาตรา
278 ว่าสิ่งเหล่านี้ต้องดำเนินการจัดทำร่างกฎหมายที่จำเป็นให้เสร็จภายใต้
240 วัน ซึ่งครบกำหนดวันที่ 2 ธันวาคม 2560 นี้ ซึ่งหากดำเนินการไม่แล้ว
เสร็จตามเวลา 240 จะมี บทลงโทษ คือ หัวหน้าส่วนราชการนั้นต้องพ้นจาก
ตำแหน่ง คือ ลงโทษกับหัวหน้าส่วนราชการ ซึ่งอาจมีปลัดกระทรวงอย่างน้อย
6 กระทรวงที่เกี่ยวข้องกับมาตรานี้จะต้องพ้นจากตำแหน่ง ถ้าทำไม่ทันภายใต้
240 วัน ที่จะยื่นต่อ สนช. มาตรานี้ถือเป็นมาตราสำคัญที่จะทำให้เกิดการพัฒนา
ประเทศอย่างยั่งยืน เกิดความรอบคอบ เกิดความมีส่วนร่วมสนับสนุนการเมือง
ภาคพลเมืองให้เดินหน้าต่อไป
ความท้าทายและสิ่งที่อยากเห็นคือการผลักดันการปฏิรูประบบ EHIA ซึ่งมี
ปัญหาอย่างมาก ประเด็นของโรงไฟฟ้ากระบี่ โรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่
โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาที่ จ.สงขลา หรือ เหมืองแร่ ปัญหาล้วนอยู่ที่การตัดสินใจ
ในเรื่องของระบบ EHIA
ความท้าทายอีกประการคือการมีส่วนร่วมของประชาชนก่อนการดำเนินการ
การร่วมกันคิด ร่วมกันออกแบบ ภายใต้กระบวนการปฏิรูปประเทศภายใน
28 มีนาคม 2561 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการที่รัฐบาลจะต้องทำแผนปฏิรูป
ประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ
การอภิปรายแสดงทัศนะ