Page 23 - kpi18886
P. 23
15
ซึ่งเป็นโจทย์สำคัญในการนำมาพิจารณาวางรูปแบบและกติกาใหม่เพื่อใช้ในการ
ปกครองบ้านเมือง แม้รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะออกแบบ
กลไกต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริต รวมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการดำเนินการ หากแต่ปัญหาการทุจริตยังคงดำรงอยู่ และได้ส่ง
ผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นโดยฝ่ายการเมือง
จนเป็นชนวนเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อกลางปี 2557
ดังนั้น “รัฐธรรมนูญฉบับปราบโกง” จึงเป็นวลีที่สะท้อนได้เป็นอย่างดีถึง
เจตนารมณ์สำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของคณะกรรมการร่าง
รัฐธรรมนูญที่ต้องการจะแก้ไขปัญหาดังกล่าว และอาจกล่าวได้ว่ามีส่วนสำคัญ
อย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของประชาชนในการลงประชามติรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
เพื่อใช้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งกลไกต่างๆ ได้มีการบรรจุและออกแบบ
ไว้มากขึ้นกว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา ทั้งในแง่การป้องกันและปราบปราม
การทุจริต โดยเฉพาะในด้านการเมืองที่จะมีความเข้มข้นเป็นพิเศษ ทั้งบทลงโทษ
นักการเมืองที่ไม่สุจริต กระบวนการถอดถอนทั้งจากรัฐสภาและองค์กรอิสระ
รวมทั้ง การควบคุมไม่ให้เกิดนโยบายประชานิยม ซึ่งล้วนเป็นกลไกที่ถือเป็น
ยาแรงจนทำให้ฝ่ายการเมือง สื่อมวลชน และผู้เกี่ยวข้องตั้งข้อสังเกตว่า กลไก
ที่กำหนดขึ้นบางอย่างนั้นมุ่งเน้นที่การนำนักการเมืองออกจากตำแหน่ง
มากกว่าที่จะลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายหรือไม่ การเพิ่มอำนาจใหม่ให้กับ
องค์กรอิสระและศาลในการควบคุมรัฐบาลมีความเหมาะสมและสามารถนำไป
ปฏิบัติจริงได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้ง การนำอำนาจประชาชนในการเข้าชื่อ
ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่งซึ่งมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าออกไปนั้น
จะทำให้ประชาชนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกลไกปราบโกงนี้ ลดลงหรือไม่
ในขณะที่รัฐธรรมนูญกำหนดหน้าที่ให้ประชาชนต้องไม่ร่วมมือหรือสนับสนุน
การทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ อีกทั้งยังมีประเด็นเรื่องการกำหนดให้มี
มาตรฐานทางจริยธรรมเพื่อบังคับใช้อย่างจริงจังทั้งสมาชิกรัฐสภา คณะรัฐมนตรี
และองค์กรอิสระ สิ่งต่างๆ ดังที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่มีประสบการณ์จากการปฏิบัติ
ในอดีตหลายเหตุการณ์ จึงเป็นความท้าทายที่มีความน่าสนใจสู่การอภิปรายแลก
เปลี่ยนความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติและผลที่จะเกิดขึ้น
สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย