Page 22 - kpi18886
P. 22
14
หรือกำหนดให้มีองค์กรมากกว่าหนึ่งองค์กรมาร่วมใช้อำนาจ เช่น การเปิดช่องให้
อำนาจศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมได้ ในขณะที่
รัฐธรรมนูญฉบับก่อนให้อำนาจการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
เป็นอำนาจของรัฐสภาแต่เพียงองค์กรเดียว เป็นต้น
แม้ว่าการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่กล่าวมาข้างต้น
จะเป็นที่คาดหวังว่าจะช่วยแก้วิกฤตทางการเมืองของประเทศไทย แต่ก็ยังเป็นที่น่า
พิจารณาว่าการกำหนดความสัมพันธ์เชิงอำนาจตามรัฐธรรมนูญนั้นจะก่อให้เกิดผล
ทางปฏิบัติที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ หรือจะต้องอยู่ภายใต้
เงื่อนไขใดจึงจะสามารถสร้างดุลอำนาจทางการเมืองที่เหมาะสมกับบริบทสังคม
ไทยอันจะนำไปสู่การสร้างระบบการเมืองการปกครองที่เข้มแข็งเพื่อการพัฒนา
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนได้
ประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อย
1. การจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจของสถาบันการเมืองตามรัฐธรรมนูญ
กับการแก้ไขปัญหาวิกฤติทางการเมืองและสร้างการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน
2. ประเด็นความท้าทายที่เกิดจากการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจตาม
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (เช่น การปรับตัวของสถาบันการเมืองต่อการใช้
อำนาจตามที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนด เป็นต้น)
3. เงื่อนไขและบริบททางการเมืองที่จะทำให้การใช้อำนาจของสถาบัน
การเมือง และความสัมพันธ์เชิงอำนาจของแต่ละองค์กรเป็นไปตาม
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
สาระสำคัญการประชุมกลุ่มย่อย
ความท้าทายที่ 3: การเมืองไทยไร้โกง ?
ปัญหาการทุจริตเปรียบเสมือนมะเร็งร้ายที่กัดกินสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง
และเป็นประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย