Page 26 - kpi18886
P. 26
18
สาระสำคัญการประชุมกลุ่มย่อย
ความท้าทายที่ 5: ยุทธศาสตร์ชาติกับอนาคตประเทศไทย ?
ยุทธศาสตร์ชาติถูกคาดหวังให้เป็น “เข็มทิศนำทาง” สำหรับการพัฒนา
ประเทศสู่ความยั่งยืน รวมถึงสร้างความต่อเนื่องของการพัฒนาประเทศและให้
ผู้เข้ามาบริหารประเทศแต่ละคณะนำยุทธศาสตร์ชาติไปใช้กำหนดนโยบายและ
วิธีดำเนินการที่เหมาะสม ด้วยเหตุนี้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ.2560 มาตรา 65 กำหนดให้รัฐจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเพื่อใช้เป็น
กรอบในการจัดทำแผนต่างๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลัง
ผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมาย เพื่อกำหนดกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางในการพัฒนา
ประเทศ พัฒนากลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติอย่างสอดคล้อง
และบูรณาการเพื่อพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมจาก
ทุกภาคส่วนในการตรากฎหมายการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัด
ทำร่างพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. .... เพื่อกำหนดกลไก
ในการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ
อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นเสมือน “เข็มทิศนำทาง”
ในการพัฒนาประเทศได้จริงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ จึงเป็นความท้าทาย
ใหม่ของสังคมไทยที่ทุกภาคส่วนควรขบคิดพิจารณาร่วมกันว่า ยุทธศาสตร์ชาติจะ
ส่งผลกระทบต่ออนาคตประเทศไทยเช่นไรโดยเฉพาะทิศทางทางการเมืองและ
แนวโน้มความต่อเนื่องของนโยบายรัฐ รวมทั้งควรมีกลไกใดในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ และภาคประชาชนจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วม
ในการจัดทำและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างไร
ประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อย
1. ผลกระทบของการมียุทธศาสตร์ชาติต่อการเมืองและนโยบายของ
รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย
2. กลไกการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่
การปฏิบัติ
สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย