Page 27 - kpi18886
P. 27
19
3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
ชาติ
4. ประสบการณ์ ตัวอย่าง และบทเรียนจากต่างประเทศในการขับเคลื่อน
ยุทธศาสตร์ชาติ
สาระสำคัญการประชุมกลุ่มย่อย
ความท้าทายที่ 6: สร้างสังคมสันติสุข ?
สังคมที่พึงปรารถนาเป็นสังคมที่มีสันติสุข ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกัน
ได้อย่างสันติ ไม่มีการใช้ความรุนแรงและยอมรับความหลากหลาย แต่ในช่วง
10 กว่าปีที่ผ่านมาเกิดปัญหาความรุนแรงทางการเมืองไทย เกิดความสูญเสีย
ในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน อีกทั้งเกิดความขัดแย้งในทุกระดับของสังคม
รัฐบาลชุดต่างๆ ได้สร้างกลไกและมาตรการเพื่อสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้น
ในสังคมไทย แต่เนื่องจากสภาพปัญหาความขัดแย้งขยายตัวกลายเป็นความ
รุนแรง และขาดการร่วมกันจัดการที่ดีเพียงพอจากทุกภาคส่วน ส่งผลให้สภาพ
ปัญหาดังกล่าวยังคงดำรงอยู่ต่อไปและอาจจะเกิดความรุนแรงขึ้นได้ในอนาคต
การจะสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นสามารถทำได้หลายแนวทาง อาทิ
เน้นที่การสร้างความสัมพันธ์กับการเน้นที่โครงสร้างและสถาบัน การสร้างความ
สัมพันธ์เป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีร่วมกันของประชาชนในสังคม ด้วยการเปิด
พื้นที่ให้มีการพูดคุยกันอันจะนำไปสู่การร่วมมือกันต่อไป ส่วนแนวทางการเน้น
ที่โครงสร้างและสถาบัน เป็นการสร้างหรือจัดตั้งสถาบันขึ้นมาเพื่อลดมุมมองด้าน
ลบต่อกัน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติเรื่องการสร้างความปรองดองไว้
ในหลายมาตรา โดยมีเป้าหมายให้ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความ
สามัคคีปรองดอง และให้มีกลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้งโดยสันติวิธี จึงเป็นที่น่า
สนใจค้นหาคำตอบว่ากฎ กติกา โครงสร้างกลไก และสถาบันการเมืองที่ถูก
ออกแบบไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อีกทั้งแนวทางการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
ในสังคมของภาครัฐ จะสามารถสร้างความปรองดองในชาติได้หรือไม่ อย่างไร
สาระสำคัญและประเด็นหลักในการประชุมกลุมยอย