Page 257 - kpi18886
P. 257
249
สี่ กระบวนการยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional justice) ต้องมี
การปฏิรูปองค์กรหรือสถาบันที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม
ด้วย องค์กรใดที่มีส่วนเกี่ยวพันกับความขัดแย้งปฏิรูปเพื่อจัดสรรองค์กร
เหล่านั้น และระหว่างองค์กรเหล่านั้นกับภาคประชาชน การจัดสรรความสัมพันธ์
ระหว่างองค์กรที่เป็นคู่ขัดแย้งในสังคม ทั้งหมดต้องได้รับการพูดถึงอย่างจริงจัง
ขณะที่ต้องการสร้างความปรองดองแต่รัฐธรรมนูญให้น้ำหนักไปที่กระบวนการ
ตรวจสอบการใช้อำนาจและการตรวจสอบอำนาจที่เข้มข้นมากเกินไปต้องระวังว่า
จะทำให้รัฐและสถาบันต่างๆ ที่ใช้อำนาจนั้นเดินไปได้เพียงใด
ขณะที่รัฐธรรมนูญเน้นการปฏิรูปต่างๆ แต่จุดอ่อนคือการมีส่วนร่วม
ของประชาชนเจ้าของอำนาจสูงสุด ไม่มีการหยิบยกเอาข้อเสนอแนะของ
ภาคประชาชนไปใช้อย่างจริงจัง ตัวอย่างรัฐธรรมนูญปี 2540 ความพยายามของ
ภาคประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 16 ฉบับ มีเพียงฉบับเดียวที่ผ่านเป็น
กฎหมายและที่ผ่านมานั้นไม่ได้อยู่ในภาวะประชาธิปไตยปกติแต่อยู่ในช่วง
รัฐประหาร รัฐธรรมนูญปี 2550 กว่าจะมี พรบ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
นั้นผ่านไปถึงหกปี และจากสถิติภาคประชาชนร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายตาม
กลไกรัฐธรรมนูญปี 2550 จำนวนรวม 43 ร่าง และผ่านเป็นกฎหมายได้
4 ฉบับ ซึ่งเมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในปี 2557 ภาคประชาชนมีความพยายามที่จะ
มีส่วนร่วมในการเสนอกฎหมายจึงได้นำเสนอร่าง พรบ. ที่ค้างไว้ในสภาตั้งแต่ก่อน
รัฐประหารเข้าเสนอต่อ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปรากฏว่าได้รับการปฏิเสธ
ด้วยเหตุผลว่า พรบ.สิ้นผลไปกับรัฐธรรมนูญปี 2550 นอกจากนี้คำสั่ง คสช.
ที่ 71/2559 สั่งยกเลิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคม สภาพัฒนาการเมือง
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย ด้วยอาจจะมีการสร้างหน่วยงานใหม่ๆ รวมอำนาจ
หน้าที่ของทั้งสามองค์กรนี้ไว้ด้วยกันเพื่อให้ประชาชนไปใช้ช่องทางนั้นแทน แต่ก็จะ
พบว่ารัฐธรรมนูญปี 2560 นั้นมิได้บอกไว้อย่างชัดเจนว่าประชาชนจะขอรับ
ความช่วยเหลือจะสามารถใช้กลไกใดได้บ้าง ตรงนี้ดุลอำนาจของประชาชนในการ
มีส่วนร่วมเสนอร่างกฎหมายจึงไม่มีความชัดเจน กลไกสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
มาตรา 77 การประเมินผลกระทบของการตรากฎหมาย RIA – regulatory
impact assessment ภายใต้ศักยภาพของภาคประชาชนซึ่งนอกจากจะต้อง
ร่างกฎหมาย รวบรวมรายชื่อแล้วยังมีกลไกตามมาตรา 77 ที่ต้องประเมิน RIA
การประชุมกลุมยอยที่ 2