Page 259 - kpi18886
P. 259
251
ประชาธิปไตยได้ดุล ?
รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต
คณะนิติศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประชาธิปไตยในกระแสโลกปัจจุบันเป็นการประสมประสานของปรัชญา
การเมืองสองแขนง หนึ่ง เสรีนิยม สอง ประชาธิปไตย ทั้งสองอย่างตั้งอยู่บนฐาน
อันเดียวกันคือ ปัจเจกชนนิยม คนแต่ละคนคิดได้เองตัดสินใจได้เอง ฐานของ
ประชาธิปไตยคนแต่ละคนคิดได้เอง ตัดสินใจได้เอง รวมถึงการตัดสินใจในชีวิต
การตัดสินใจเลือกผู้นำ ผู้ปกครอง ซึ่งเมื่อผสมกับแนวความคิดเสรีนิยม จึงกลาย
เป็นการปกครองโดยเสียงข้างมาก (rule by many) เป็นเสียงข้างมากที่แต่ละคน
มีที่รัก-ชอบแตกต่างกัน ดังนั้น จะตัดสินอย่างไร ในความหลากหลายนั้นและ
สุดท้ายอะไรจะเป็นสิ่งที่ชอบที่สุดของคนกลุ่มนั้น
เมื่อประชาธิปไตยบอกว่าเสียงของคนทุกคนเท่ากัน จึงใช้เสียงข้างมาก
ในการตัดสิน นี้คือพื้นฐานของการตัดสินใจโดยเสียงข้างมาก แต่การปกครองโดย
เสียงข้างมาก (rule by many) อาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น สมัยฮิตเล่อร์
ที่เสียงข้างมากนำไปสู่ออกกฎหมายจำกัดตัดสิทธิชาวยิว ความคิดเสรีนิยมจึงเข้า
มาเกี่ยวข้อง เสรีนิยม คือ สิทธิ และเสรีภาพ ซึ่งเมื่อผสมผสานกับประชาธิปไตย
จึงเป็นการปกครองโดยเสียงข้างมากที่สิทธิ เสรีภาพของเสียงข้างน้อยยังคงอยู่
2 ปรัชญาการเมืองนี้ ทำให้เสรีนิยมประชาธิปไตยหรือประชาธิปไตยตะวันตก
มีลักษณะร่วมกัน คือ 1) อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน 2) อำนาจต้อง
กระจาย ถ่วงดุล และตรวจสอบได้ 3) เสียงข้างมาก 4) น้ำหนักของเสียงเท่ากัน
การประชุมกลุมยอยที่ 2