Page 258 - kpi18886
P. 258

250




               นี่อีก แล้วภาคประชาชนจะสามารถใช้อำนาจเสนอร่างกฎหมายเข้าสู่สภา

               ได้อย่างไร


                     สรุปประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ 1) การใช้รัฐธรรมนูญเป็นกลไกในการ
               ปฏิรูปองค์กรที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ยังไม่มีการ mapping คู่ขัดแย้งระหว่าง
               กลุ่มอำนาจ พรรคการเมือง บางหน่วยงานที่เป็นคนกลางเกิดเป็นคู่ขัดแย้งเอง
               2) อำนาจของประชาชน การมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจอธิปไตยในแง่การเสนอ

               กฎหมายที่จำเป็นของตนเองยังไม่เห็นทิศทางที่ชัดเจนว่ากลไกดังกล่าวจะสามารถ
               นำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                     ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมา 80 กว่าปีและอยู่ในช่วงวิวัฒนาการที่ต้องการ
               ความเห็นพ้องต้องกันของคนในสังคม ถ้าผู้ร่างให้การมีส่วนร่วมประชาชนมาก

               การยอมรับที่มีฐานจากประชาชนก็จะเกิดความชอบธรรมมากกว่า อีกประเด็นคือ
               เวลาร่างรัฐธรรมนูญนั้นมักจะนำปัญหามาเป็นตัวตั้งโดยละเลยหลักการที่ควรเป็น
               คือ หลัก Living constitution หรือ รัฐธรรมนูญที่มีชีวิต กล่าวคือต้องเข้าใจ
               ว่าการตีความรัฐธรรมนูญอาจตีความแตกต่างจากเจตจำนงของผู้ร่าง เช่น

               ในสหรัฐอเมริกา การตีความรัฐธรรมนูญตั้งแต่ ค.ศ. 1786 ซึ่งเจตจำนงของ
               ผู้ร่างรัฐธรรมนูญตอนนั้น มีสภาพสังคมแบบหนึ่ง แต่ปัจจุบันมีสภาพสังคม

               อีกแบบหนึ่ง การตีความแบบดั้งเดิมอาจไม่สอดรับกับสภาพสังคมยุคปัจจุบัน
               ดังนั้นเมื่อดุลอำนาจยังแกว่งอยู่ ปัญหาอาจมีอยู่บ้าง ที่สำคัญคือดุลอำนาจนี้จะไม่
               คงอยู่นิ่งแบบนี้ตลอดไป เพราะสังคมเปลี่ยนไปดุลก็ต้องเปลี่ยนไปแต่สิ่งที่จะสร้าง
               ความชอบธรรมให้กับดุลอำนาจ ได้มากที่สุดคือการมีส่วนร่วมและการเห็นพ้อง

               ต้องกันของสังคม






















                   การประชุมกลุมยอยที่ 2
   253   254   255   256   257   258   259   260   261   262   263