Page 313 - kpi18886
P. 313

305




                   ในรัฐธรรมนูญให้รัฐบาลแถลงนโยบายที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ

                   ในงบประมาณประจำปีต้องแถลงว่าสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่อย่างไร
                   ใน พรบ. ยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดให้มีการตรวจสอบรัฐและหน่วยงานรัฐว่า
                   ทำตามยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ และ ให้มีการตรวจสอบความสอดคล้องกับ
                   ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บท ดังนั้น การเลือกตั้งไม่มีผลทางนโยบาย เพราะ

                   นโยบายที่แถลงกับรัฐสภาต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ เมื่อ สว. ชุดแรกที่มาจาก
                   การแต่งตั้งมีสิทธิในการตรวจสอบว่าเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติหรือไม่ ดังนั้น
                   สว. ที่มาจากการเลือกตั้งต้องขึ้นกับ สว. ที่มาจากการแต่งตั้ง และเนื่องจาก

                   ในตัวยุทธศาสตร์ชาติที่ลักษณะเหมือนร่างแผนแม่บทขนาดใหญ่มีช่องว่างใน
                   การตีความ จึงถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อล้มรัฐบาลได้ แต่ถ้า
                   ยุทธศาสตร์ชาติล้มเหลวแล้วคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติต้องรับผิดต่อใคร


                         ในประเด็นการมีส่วนร่วมเพื่อรวมพลังขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาตินั้น
                   การรับฟังความคิดเห็นให้แล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ทำได้อย่างมีคุณค่าเพียงใด
                   และเมื่อพิจารณาคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ที่องค์ประกอบของ

                   คณะกรรมการฯ มีภูมิหลังและองค์ประกอบที่เน้นด้านการตลาดและการเงิน แต่
                   ขาดภูมิหลังด้านวิศวกร หรือตัวแทนจากภาคที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น ตัวแทน
                   จากด้านแรงงาน เกษตรกร ธุรกิจรายเล็ก ธุรกิจชุมชน ดังนั้นทั้งองค์ประกอบของ

                   คณะกรรมการและองค์ประกอบของกระบวนการร่าง ยังคงเกิดคำถามว่าได้รวม
                   ทุกภาคส่วนเข้ามา (inclusive) จริงหรือไม่ และถ้าไม่มีเสียงของตัวแทนจาก
                   ทุกภาคส่วนจริงจะแน่ใจได้อย่างไรว่าความเหลื่อมล้ำได้รับการแก้ไข


                         สรุป ยุทธศาสตร์ชาติฉบับของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                   ที่มีอยู่ รวมทั้งองค์ประกอบนั้น เป็นแผนของกลุ่มชนชั้นนำกลุ่มเล็กๆ (narrow
                   elite group)  ประกอบด้วยทุนขนาดใหญ่และบุคคลในเครื่องแบบเป็นส่วนใหญ่

                   ดังนั้น สิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเองนั้น นโยบายหลัก (major
                   policy) อื่นๆ ไม่อาจทำได้เพราะถูกกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติอยู่แล้ว และการ
                   มี สว.เป็นผู้คอยตรวจสอบ ซึ่งขึ้นกับ สว. ในการตีความนโยบายหลักนั้นว่าเข้ากับ
                   ยุทธศาสตร์หรือไม่ หากไม่เห็นด้วยก็จะถูกถอดถอนทางการเมืองผ่านทาง

                   ศาลรัฐธรรมนูญ ดังนั้นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะกล้ากำหนดหรือไม่
                   สุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตัดสิน





                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 5
   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317   318