Page 311 - kpi18886
P. 311

303




                   แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของไทยที่ติดอันดับโลกอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ เสถียรภาพ

                   ทางสังคมและการเมืองจะตามมา เพราะความเหลื่อมล้ำทำให้เกิดอาชญากรรม
                   ทางสังคม


                         จากทฤษฎี และประสบการณ์จากประเทศในเอเชียตะวันออกที่ประสบ
                   ความสำเร็จจนเป็นประเทศที่ร่ำรวยนั้น ต้องมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
                   (growth) ก่อนแล้วจึงแบ่งปันได้ ประเทศไทยยังติดกับดักรายได้ปานกลาง (MIT)
                   ซึ่งหากต้องการหลุดพ้นจากระดับรายได้ปานกลางนั้นต้องมีการเติบโตทาง

                   เศรษฐกิจก่อน และการจะทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้นั้นต้องมีนวัตกรรม
                   (innovation) และนวัตกรรมที่ปล่อยให้เกิดขึ้นโดยตลาดอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ
                   เหตุเพราะตลาดมันไม่มีแรงจูงใจหรือสิ่งจูงใจ (incentive) ในตัวเองที่จะผลิต

                   นวัตกรรม ในแง่นี้ทางเศรษฐศาสตร์เห็นว่าอัตราการเกิดนวัตกรรมที่ต่ำทั้งใน
                   ประเทศไทยหรือประเทศโลกที่สามนั้นไม่ได้เกิดจากด้านอุปทาน (supplies side)
                   เช่น ขาดแคลนวิศวกร ขาดแคลนห้อง Lab มากเท่ากับ ด้านอุปสงค์ (demand
                   side) ซึ่งสำคัญกว่าคือผู้ประกอบการไม่ประสงค์จะผลิตนวัตกรรม เหตุผลในทาง

                   เศรษฐศาสตร์คือแรงจูงใจไม่พอ นวัตกรรมมีต้นทุนในการสร้างและพัฒนา และ
                   ยังถูกก๊อปปี้ได้อีก ในที่นี้นวัตกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นครั้งแรกของโลก เช่น
                   การสร้างหุ่นยนต์ กล่าวคือเราไม่จำเป็นต้องคิดหุ่นยนต์เป็นคนแรกเพียงเอา

                   เทคนิคการสร้างอุตสาหกรรมการสร้างหุ่นยนต์มาใช้ ก็เป็นนวัตกรรมสำหรับ
                   ประเทศไทยแล้ว เช่นนี้ยังมีต้นทุนในการปรับใช้และการเรียนรู้อีก ดังนั้น
                   ในกระบวนการที่ขาดแรงจูงใจเช่นนี้หากปล่อยให้ตลาดทำเองคงต้องใช้เวลาอีก
                   50 ปี และจะส่งผลคือการเกิดสังคมแก่ก่อนรวย ดังนั้น สิ่งที่รัฐจะให้ความ

                   ช่วยเหลือและทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมเร็วกว่าที่ตลาดจะดำเนินไปด้วย
                   ตัวเอง คือ การมีนโยบายอุตสาหกรรมที่ยกระดับอุตสาหกรรมไทยให้มี
                   ประสิทธิภาพและแข่งขันได้ นโยบายต้องสร้างและเร่งอัตราการพัฒนานวัตกรรม
                   เพราะข้อจำกัดของการพัฒนานวัตกรรมคือต้นทุนที่นักลงทุนแบกรับแล้วไม่คุ้ม

                   รัฐจึงต้องสนับสนุนการลงทุน (subsidies) ให้เอกชนไปสร้างนวัตกรรมที่มี
                   ประโยชน์กับประเทศไทย ประเด็นคือคำถามว่าหากสนับสนุนเช่นนั้นแล้ว เอกชน
                   ที่ได้เงินจากรัฐหรือสิทธิพิเศษต่างๆ ได้สร้างนวัตกรรมหรือไม่ นวัตกรรมที่
                   ประเทศไทยควรจะทำในท่ามกลางนวัตกรรมที่เป็นไปได้ในโลกนี้ควรอยู่ตรงไหน

                   ดังนั้น กระบวนการของนโยบายอุตสาหกรรม (Industrial policy - IP) นั้นเป็น




                                                                     การประชุมกลุมยอยที่ 5
   306   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316