Page 315 - kpi18886
P. 315
307
กับยุทธศาสตร์อย่างไร มีการวัดประเมินอย่างไร และให้วัตถุประสงค์ชัดเจน
ต้องสามารถให้รู้ได้ว่าผลจากการทำนั้นมีผลกระทบ (impact) และผลพวงอะไร
เกิดขึ้นบ้าง SDG ถูกนำไปสวมเข้ากับกระทรวงต่างๆ แต่เมื่อแปรลงสู่ระดับปฏิบัติ
ได้ทำให้ภาพของการประสานพลังเป็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากระบบ IT
แล้วการมีข้อมูลที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ คือปัจจัยสำคัญที่จะผลักดัน SDG
ให้เกิดขึ้นได้
ขณะที่ความรวดเร็วว่องไว (speedy) ของภาครัฐและภาคเอกชนไม่เท่ากัน
แต่ทุกภาคส่วนต่างมีความตั้งใจในการพัฒนาประเทศเหมือนกัน เช่นนี้แล้ว
กระบวนการควรเป็นเช่นไรเพื่อไปสู่เป้าหมายของเราในอนาคตข้างหน้า
ปัจจุบันมีแนวโน้มหลากหลายที่เข้ามาในประเทศไทย และที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
คือเรื่องของเทคโนโลยี ดิจิตอล ซึ่งในที่นี้ ยังไม่ได้พูดถึง innovation platform
ที่ประเทศไทยมีการวางภาพว่าต้องมีขึ้น แต่กรอบเป็นอย่างไรนั้นอีกอย่างหนึ่ง
และอย่างที่เรียนไปว่าเวลาที่ลงสู่ระดับปฏิบัติแล้วยังไม่เห็นภาพที่ชัดเจนว่ามันจะ
ต้องเป็นเช่นไร ผู้ที่เป็นกรรมการผู้ที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญกับส่วนนี้และสิ่งที่
ต้องการออกมาเป็นผลลัพธ์เป็นอย่างไร
วันนี้ที่ผมอยากจะแชร์คือเราได้มีการทำ Index ช่วยให้เห็นว่าในขณะที่
แนวโน้มมาทุกประเทศมีความตื่นตัว และยุทธศาสตร์ของทุกประเทศเองก็มี
การรับเอาแนวโน้มต่างๆ นี้ไปใช้ แต่เมื่อพิจารณาดูเกณฑ์บ่งชี้ (criteria) ในการที่
จะทำให้เกิดความสำเร็จ ยังไม่สามารถบอกได้ แต่ขอให้เป็นข้อคิดว่าในภาคเอกชน
น่าจะเป็นไปได้ง่ายเพราะการบริหารจากบนสู่ล่าง (top-down) นั้น ให้ความ
สำคัญกับผลการปฏิบัติงาน (performance) ในภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจนั้น
ควรจะทำอย่างไรให้เกิดการขับเคลื่อน ด้วยความเร็ว (speed) และจะสามารถ
ไปด้วยกันไปพร้อมกันแล้วตอบโจทย์ประเทศได้หรือไม่
ขณะนี้ทุกคนมองที่ความสำเร็จของประเทศ ทุกองค์กรทุกหน่วยงานทั้ง
ภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือองค์กรอิสระต่างๆ ภาพที่เรามองจะมีหลักสำคัญ
(Key) คือ การมีลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (customer centric) ในด้านของ
ภาคเอกชนมองค้าขายธุรกิจ ส่วนภาครัฐและรัฐวิสาหกิจมองลูกค้าผู้รับบริการ
การประชุมกลุมยอยที่ 5