Page 320 - kpi18886
P. 320
312
ก่อนรัฐประหาร รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เรายังสามารถส่งเสียงแสดง
ความคิดเห็น เราสามารถที่จะมีเวทีเสวนากับข้าราชการกับรัฐมนตรีได้ แต่
สิ่งเหล่านี้หายไปหมด มีแต่คำว่า “เขาจะเอา” มาแทน เช่น กรณี FTA การเจรจา
การค้าระหว่างประเทศในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 190 กำหนดให้มี
การรับฟังความคิดเห็นในการเสนอ มีการเสนอร่างกรอบเจรจาก่อนการเจรจา
มีการให้ข้อมูลกับประชาชน เหล่านี้ถูกตัดทิ้งไปหมดเมื่อมีรัฐประหาร และรวมถึง
ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 หรือแม้แต่การเจรจาการค้าที่ก่อนหน้านี้จะมี
การบรรยายสรุปให้กับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมฟังอย่างไม่เป็นทางการ
ทั้งก่อนและหลังเพื่อฟังความคิดเห็นและช่วยกันพิจารณาว่าข้อเสนอนั้นดีจริง
หรือไม่ แต่ในการเจรจา ASEAN+6 กลับเอาประชาชนออก เช่นนี้ไม่ได้ต้องการ
ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และไม่ได้แสดงให้เห็นว่าต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ดังนั้น ข้อเสนอสำคัญที่สุด คือ ขอให้ยกเลิกประกาศ คำสั่ง คสช.และ
กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการแสดงความคิดเห็น เพราะมิฉะนั้นแล้ว เป้าหมาย
ของ คสช. ที่ต้องการวางท่อให้งูอยู่ในท่อ แต่ท่อนั้นไม่ตรงกับสิ่งที่ประชาชน
ต้องการ เช่นนี้มันไม่ต่างกับการสืบทอดอำนาจ
ยุทธศาสตร์ชาติต้องตั้งต้นที่มองเป้าหมายที่เราอยากจะเป็นและมีช่องให้
ปรับตัวได้บ้าง มีการยืดหยุ่นและสะท้อนแนวคิดของคนที่อยากมีคุณภาพชีวิต
ที่ดีขึ้น ไม่ใช่สะท้อนแนวคิดของคนที่อดอยาก แล้วก็เอาทุกอย่างทำทุกอย่างเพื่อที่
จะแลกมาซึ่งสิ่งที่อยากได้ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงคนจนเพราะบางครั้งคนรวยก็จะใช้
วิธีการแบบนี้ก็คือรู้สึกว่าตัวเองอดอยากเช่น ต้องการให้มีการมาลงทุนจึงยอมแลก
ทุกอย่าง แต่หากตั้งต้นที่คนที่อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้วการเจรจาการค้า
ระหว่างประเทศก็จะมีการเปิดเผยข้อมูลมีการใช้งานวิจัย มีการคุ้มครองการลงทุน
ที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อเรียกการยอมรับจากต่างประเทศเพียงอย่างเดียว จะไม่มีการลด
หย่อนภาษีที่ทำลายความก้าวหน้าของระบบภาษี และจะไม่มีการทำให้งบประมาณ
แผ่นดินที่ควรได้มานั้นเสียหายไป แต่จะสนับสนุนให้มีการเปิดเผยข้อมูล
ในประชาชนเข้าตรวจสอบการทุจริตคอร์รับชัน การมีสวัสดิการสังคมที่ลด
ความเหลื่อมล้ำนั้นความเสมอภาคจะต้องเกิดจากระบบสวัสดิการที่มี
ความคุ้มครองและมีความก้าวหน้าไม่ใช่การแยกย่อยกลุ่ม เช่น กลุ่มคนยากจน
การประชุมกลุมยอยที่ 5