Page 353 - kpi18886
P. 353

345





                   Abstract

                         Absolute freedom does not exist in any state that rules by law. It
                   is necessary for every state to limit some freedom in the principle of
                   public interest. In the view of classical period political philosophy, the
                   people in every state always be limited some freedom by law. The
                   people must obey the law and live in the state to accomplish the true
                   nature of man which is considered the truly freedom. In the case of
                   Thai state, the current constitution limits some freedom in the same
                   way as the previous constitutions such as the constitution of 2540 B.E.
                   and the constitution of 2550 B.E. However, in the current and previous
                   constitutions, there is no article about the compensation to the people
                   which are effected by the limited freedom.

                   Keyword: Freedom, Constitution, Political philosophy, Classical period



                   บทนำ

                         รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีหลักการและ

                   เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพของประชาชนในทิศทางเดียวกับรัฐธรรมนูญ
                   ฉบับก่อนหน้า โดยมีแนวทางที่สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                   พุทธศักราช 2540 ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนและมักจะ

                   ถูกกล่าวอ้างโดยกลุ่มการเมืองและวงวิชาการต่าง ๆ ว่ามีความเป็นประชาธิปไตย
                   และ “ศิวิไลซ์” ที่สุดฉบับหนึ่งตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
                   เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตามมีเสียงวิจารณ์ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (2560)

                   ได้มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพบางอย่าง มิได้มีหลักการความเป็นเสรีภาพอย่างแท้จริง
                   ซึ่งถ้าพิจารณาเนื้อหาหลักการว่าด้วยเสรีภาพที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับนี้
                   จะเห็นว่ามีแนวคิดบางประการที่เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าคือ เสรีภาพ
                   ที่แท้จริงนั้นหามีไม่ แต่เสรีภาพที่ประชาชนพึงมีพึงได้ตามรัฐธรรมนูญนั้น ย่อมถูก

                   จำกัดจากรัฐในบางประการ โดยมีหลักการในเรื่องความมั่นคงและผลประโยชน์
                   แห่งรัฐ ที่สามารถใช้สร้างความชอบธรรมให้กับรัฐในการจำกัดเสรีภาพได้โดยชอบ

                   ด้วยกฎหมาย ดังนั้น เสรีภาพในโลกแห่งความเป็นจริงก็คือ เสรีภาพที่ถูกจำกัด
                   โดยรัฐ จึงนำมาสู่ประเด็นคำถามที่ว่าอำนาจรัฐในการจำกัดเสรีภาพนั้น มีความ



                                                                 บทความที่ผานการพิจารณา
   348   349   350   351   352   353   354   355   356   357   358