Page 354 - kpi18886
P. 354
346
จำเป็นและชอบธรรมได้อย่างไร โดยประเด็นดังกล่าวเป็นปัญหาที่นักปรัชญา
การเมืองได้ถกเถียงและค้นหาคำตอบกันมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ หรือเป็นที่รู้จัก
กันดีในยุคคลาสสิก ซึ่งคำอธิบายทางปรัชญาการเมืองเหล่านั้นยังสามารถใช้
พิจารณาถึงปัญหาที่ว่าด้วยเสรีภาพและอำนาจรัฐในโลกปัจจุบันได้ไม่ต่างจากครั้ง
บรรพกาล
เสรีภาพที่จำกัดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้มีบทบัญญัติ
เกี่ยวข้องกับสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ในเรื่องต่างๆ อาทิ เสรีภาพในชีวิต
ทรัพย์สิน การแสดงออกทางความคิด ศาสนา สิทธิในการรวมตัวเป็นกลุ่ม
การเมือง สมาคมต่างๆ เหมือนกับรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ และเช่นเดียวกัน
ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้มีการระบุถึงการคุ้มครองเสรีภาพและการให้อำนาจรัฐ
ในการจำกัดเสรีภาพได้ในกรณีที่จำเป็น ตามถ้อยความในมาตรา 25 และมาตรา
26 ดังนี้
มาตรา 25 บัญญัติว่า “สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย นอกจากที่
บัญญัติคุ้มครองไว้เป็นการเฉพาะในรัฐธรรมนูญแล้ว การใดที่มิได้ห้ามหรือจำกัด
ไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะทำการนั้น
ได้ และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตราบเท่าที่การใช้สิทธิหรือเสรีภาพ
เช่นว่านั้นไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบ
เรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน และไม่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของ
บุคคลอื่น
สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ แม้ยังไม่มีการตรา
กฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคลหรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้
ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ
สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
คดีในศาลได้
บทความที่ผานการพิจารณา