Page 357 - kpi18886
P. 357
349
(Classical period) ที่นักปรัชญากรีกตั้งคำถามว่ารัฐจะกระทำการอย่างไรจึงจะ
เรียกว่ายุติธรรมที่สุด และมนุษย์จะมีเสรีภาพ เพื่อความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงในรัฐ
โดยมีนักปรัชญาที่โดดเด่นอยู่สามคนคือ โซเครติส (Socrates) เปลโต (Plato)
และอริสโตเติล (Aristotle) ที่เห็นว่ามนุษย์อยู่ในรัฐ เพื่อบรรลุความสมบูรณ์ใน
การเป็นมนุษย์ ซึ่งการที่รัฐจะทำให้มนุษย์ที่อาศัยในรัฐเข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริง
ได้นั้น ก็ต้องมาจากการใช้ปัญญาและเหตุผลในการปกครอง
เสรีภาพที่จำกัดด้วยกฎหมายตามแนวคิดของ โซเครติส (Socrates)
โซเครติสเป็นชาวเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ราว 469-399 ปีก่อนคริสตกาล
ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในการสนทนาทางปรัชญา วิพากษ์กิจกรรมทางการเมือง ซึ่งเป็น
กิจกรรมประจำวันของชาวกรีก ซึ่งถือว่ารัฐเป็นส่วนหนึ่งของตัวเขาและตัวเขาเป็น
ส่วนหนึ่งของรัฐ ความรู้ของโซเครติส คือ ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ปราศจาก
ข้อสงสัยในเรื่องที่รู้นั้นๆ ความรู้นั้นยังหมายถึงคุณธรรม (Virtue) คนเราถ้ามี
คุณธรรมจะเป็นผู้สมบูรณ์ คุณธรรมเป็นเรื่องเฉพาะตัวไม่มีใครสามารถให้กันได้
ไม่สามารถสอนกันได้ เพราะคนผู้นั้นจะต้องเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งด้วยตนเอง แต่ก็
ใช่ว่าจะสอนไม่ได้เลย โซเครติสออกไปในที่ต่างๆ เพื่อแนะนำ กระตุ้น ปลุกผู้คน
ให้เกิดสำนึกและเข้าใจในคุณธรรมของตนเอง คนที่มีคุณธรรมก็จะรู้จักตัวเองดี
มีความสุขที่แท้จริง ความยุ่งยากในสังคมก็จะหมดไป โซเครติสเชื่อในเรื่อง
จิตอมตะ บุคคลที่มีคุณธรรมจากการแสวงหาความรู้ ศึกษาปรัชญา จะทำให้จิตใจ
บริสุทธิ์ เข้าไปอยู่ร่วมกับเทพเจ้าได้ เพราะผู้ที่รักในความรู้จะพยายามข่มตัณหา
ทางกาย ไม่ยอมให้ร่างกายพาไปในทางที่ผิด รู้แจ้งเห็นจริงในคุณธรรม จิตไม่ยึด
มั่นในสุขในทุกข์ที่เหมือนสลักตอกรัดจิตไว้เข้ากับร่างกาย จนหลงยึดติดต้องกลับ
มาปฏิสนธิอีก ผู้ที่รักในความรู้จิตจะเป็นอิสระไปอยู่รวมกับเทพเจ้าอยู่กับความจริง
สูงสุด สำหรับโซเครติสแล้วคุณธรรม คือ ความรู้ ถ้ารู้ว่าอะไรดีแล้วก็สามารถทำดี
ได้ทุกอย่าง
ด้วยเหตุที่การสนทนาทางปรัชญาการเมืองของโซเครติสที่ไปวิพากษ์วิจารณ์
บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือไปสนทนากันแล้วทำให้คู่สนทนารู้สึกว่าโซเครติสทำให้
เขาขายหน้าว่าไม่มีความรู้ ไม่สามารถตอบปัญหาได้ ทำให้มีกลุ่มบุคคลที่เกลียดชัง
โซเครติสมาก และในที่สุดมีการฟ้องร้องโซเครติสต่อศาลนครเอเธนส์ว่าโซเครติส
บทความที่ผานการพิจารณา